โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาพอลิเมอร์อิเลคโทรไลต์ในเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดสีย้อมไวแสง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาสลายตัวเร็วของเม็ดสีเมื่อถูกแสงนานๆ และสารอิเล็กโทรไลต์เหลวมีระยะเวลาการใช้งานน้อย เนื่องจากระเหยง่ายมีการรั่วไหลตลอด เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ศึกษาคัดเลือกเม็ดสีที่สลายตัวได้ช้า ให้กำลังไฟฟ้าสูง จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบเม็ดสีจากพืชชนิดต่างๆ ในการดูดจับแสง ในการศึกษาครั้งนี้ได้คัดเลือกสีย้อมไวแสงจากพืชที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ ดูดกลืนแสงได้มาก มีคุณสมบัติถ่ายโอนอิเล็กตรอน ยึดเกาะติดบน TiO2 ดีดี มีความคงทน สลายตัวช้า และจากการคัดเลือกพบว่า ข้าวหอมนิลสกัดด้วยสารละลายเมทิลแอลกอฮอร์เข้มข้น 95% แช่เซลล์ในสารสกัดนาน 60 นาที ณ อุณหภูมิให้ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุด ส่วนขมิ้นให้ค่ากระแสไฟฟ้าสูง จึงได้นำทั้งสองขนิดนี้มาผสมกันเพื่อให้มีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้น และดูดกลืนช่วงความยาวคลื่นแสงกว้างเพิ่มขึ้น ในช่วงความยาวคลื่น 350-500 นาโนเมตร และให้กำลังไฟฟ้าได้สูงที่สุด 8.33x10-5 w เซลล์ที่ได้สามารถรับแสงที่มีความเข้มน้อยได้เป็นอย่างดี นำใช้ในอาคารโดยไม่จำเป็นต้องรับแสงอาทิตย์ และในการทดลองนี้ได้ทำการพัมนาการเลือกใช้สารละลายอิเลกโทรไลต์ พบว่าสารอิเล็กทรอไลต์ ที่ดีที่สุดคือโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่กักเก็บพอลิเมอร์จากคาร์บอนซีเมทิลเซลลูโลสสามารถกักเก็บสารละลายอิเลคโทรไลต์ได้เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน มีค่า maximum power density 0.047 mW/cm2
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กาญรดา เกื้อกุล
ภัทรพล ทองสุวรรณ์
สุวิมล อินทร์ทะนะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พอลิเมอร์อิเล็กโทรไลท์ การพัฒนา
ีย้อม ประเภท
เซลล์แสงอาทิตย์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์