โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องมะละกอเหยื่อล่อหอยเชอรี่ในนาข้าว

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำมะละกอพื้นบ้านมาเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ จากการศึกษาการนำส่วนต่าง ๆ ของมะละกอมาเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ในนาข้าว พบว่า ใบมะละกอเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ที่ดีที่สุด รองลงมาคือ ผลมะละกอดิบ และยางมะละกอ ตามลำดับ การศึกษาประสิทธิภาพจากส่วนต่างๆ ของมะละกอในการเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ในนาข้าว เป็นการศึกษาจำนวนตัวของหอยเชอรี่ที่เข้ามากินผลและยางของมะละกอที่อยู่ภายในไซ ที่เรานำไปวางไว้ที่ทุ่งเพื่อง่ายในการกำจัดหอยเชอรี่ ออกจากท้องนาพบว่า ใบมะละกอ 500 กรัมล่อหอยเชอรี่ได้ 12 ตัว ผลมะละกอดิบ 500 กรัมล่อหอยเชอรี่ได้ 8 ตัว ส่วนยางมะละกอ 50 cm3 ซับในผ้าขาวบาง ล่อหอยเชอรี่ได้ 3 ตัว แนวทางในการลดหอยเชอรี่ที่เป็นศัตรูข้าวและลดการใช้สารเคมีในนาข้าวคือ การใช้เหยื่อล่อหอยเชอรี่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ใบมะละกอหั่นหยาบใส่ในอุปกรณ์ดักจับหอบเชอรี่(ไซ)นำไปวางไว้ที่น้ำไหลผ่าน หอยเชอรี่ที่อยู่ในนาข้าวเริ่มเข้ามาในไซมากที่สุดที่ใช้เหยื่อล่อคือใบมะละกอเนื่องจากใบมะละกอเป็นพืชที่มียางขาวคล้ายนมสด หอยเชอรี่จะเข้ามากินและหลบซ่อนตัวใบมะละกอที่หอยกิน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นัฐนิชา เจ้าภักดี

  • ปรียานุช แอบอุ่น

  • มลธิชา สอดสี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย รางวัลเชิดชูเกียรติ ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มะละกอ ใบ

  • หอยเชอรี่ กำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์