โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพกระดาษดูดซับน้ำมันจากเปลือกข้าวโพด ฟางข้าว และผักตบชวา

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพราะว่าที่จังหวัดลำปางมีการปลูกข้าว ข้าวโพด เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ฟางข้าวและเปลือกข้าวโพดเป็นจำนวนมาก จึงจะนำสิ่งเหล่านี้มาแปรรูปเป็นกระดาษ เพิ่มค่าด้วยการประดิษฐ์ เป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ การศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยมาทำกระดาษ เมื่อนำสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ไปผสมกับเส้นใยต่าง ๆ จะได้เยื่อกระดาษที่ต่างกันดังต่อไปนี้ เส้นใยเปลือกข้าวโพดที่จะได้เส้นใยที่มีขนาดเล็กละเอียดกว่าเส้นใยอื่น เส้นใยฟางข้าวจะได้เส้นใยที่มีขนาดใหญ่ละเอียด เส้นใยผักตบชวาจะได้เส้นใยที่มีขนาดเล็กละเอียด นำเยื่อกระดาษที่ได้ มาทดสอบความเป็นกรดเบส โดยใช้ pH Meter พบว่าเส้นใยจากฟางข้าวมีค่า pH สูงสุดที่ 13.7 การเปรียบเทียบความเหนียว ความทนต่อแรงดึง ความทึบแสง การดูดซับน้ำ กระดาษฟางข้าวผสมน้ำขี้เถ้ามีค่าความเหนียวทนต่อแรงดึงมากที่สุด กระดาษฟางข้าวผสมน้ำขี้เถ้ามีค่าทึบแสงมากที่สุด กระดาษผักตบชวาผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์มีการซึมของน้ำมากที่สุด แนวทางในการผลิตกระดาษเปลือกข้าวโพด ฟางข้าว ผักตบชวา สู่ผลิตภัณฑ์กระดาษดูดซับน้ำมัน กระดาษเปลือกข้าวโพดมีระดับการดูดซับน้ำมันได้สูงที่สุด 5 cm ผักตบชวามีปริมาณน้ำมันเหลือมากที่สุด เท่ากับ 19 cm3

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ญาดา เยียดยัด

  • ธนาทร โกวฤทธิ์

  • วินิชยา สิริภานุวงค์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษซับมัน การผลิต

  • น้ำมัน กำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์