โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการผลิตกระดาเปลือกข้าวโพดจากการใช้สารฟอกธรรมชาติ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีเพื่อศึกษาการเตรียมกระดาษจากเปลือกข้าวโพด พบว่า กระดาษที่ได้มีสีเหลือง มีเส้นใยไม่ละเอียดเป็นเส้นเล็กๆ การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารฟอกจากธรรมชาติและสารเคมีที่เหมาะสม ในการฟอกกระดาษจากเปลือกข้าวโพดพบว่า สารฟอกขาวจากธรรมชาติที่เหมาะสมคือ น้ำขี้เถ้าของผักโหมหนามแห้ง มีค่าแรงดึงสูงสุดได้ 18.32 นิวตัน มีความทึบแสงสามารถใช้กระดาปิดแสงให้ทึบแสงมากที่สุด 4 แผ่น การดูดซับน้ำได้ปริมาตรเฉลี่ย 11.12 ลูกบาศก์เซนติเมตร รองลงมาคือสารฟอกขาวจากน้ำขี้เถ้าของแก่นขี้เหล็กแห้ง น้ำขี้เถ้าของกาบกล้วยน้ำว้าแห้ง และเมื่อเปรียบเทียบกับสารฟอกขาวจากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์กระดาจากเปลือกข้าวโพดมีคุณภาพของกระดาษที่ดีกว่า การศึกษาค่าความเป็นกรด-ด่างพบว่าน้ำขี้เถ้าของผักโหมหนามแห้งมีค่าความเป็นด่างที่เหมาะสมคือ 11.00 มีค่าความเป็นด่างสูงสุด รองลงมาเป็นน้ำขี้เถ้าของแก่นขี้เหล็กผึ้ง และน้ำขี้เถ้าของกาบกล้วยน้ำว้าแห้งตามลำดับ การใช้สารฟอกขาวธรรมชาติสามารถใช้แทนสารเคมีได้ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสารเคมีและยังเป็นกรนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑาทิพย์ กันทะวงศ์
นฤเบศ ถือคุณ
ศุภกิจ ถาเป็นบุญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษเปลือกข้าวโพด การผลิต
เปลือกข้าวโพด รีไซเคิล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์