โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผู้ก่อเกิดแสงสีที่เปลวเทียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จรีรัตน์ เจษฎาพันธ์
ธีรศานต์ ศิริ
ยุวธิดา แสงรัตน์
รุ่งนภา กุศลมา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p74
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป249/2539 โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสีของแสงเทียน ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีเพียงสีเดียว หากมีวิธีเปลี่ยนสีของแสงเทียนให้มีสีที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความหลากหลายก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสัญลักษณ์ในพิธีต่าง ๆ ได้ เช่น แสงเทียนสีน้ำเงินให้ระลึกถึงองค์พระมหากษัตริย์เป็นต้น ผู้ทำโครงงานจึงได้ทำการทดลองผลิตเทียนไข ให้เกิดเปลวไฟสีต่าง ๆ โดยใช้สารเคมีที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นสารประกอบของโลหะต่าง ๆ โดยที่โลหะต่างชนิดกันจะให้เปลวไฟสีต่างกัน จากการทดลองพบว่าสารประกอบของโลหะโพแทสเซียมจะให้แสงเทียนเป็นสีม่วง โลหะคอปเปอร์จะให้เปลวเทียนน้ำเงินอมเขียว โลหะสตรอนเซียมจะให้เปลวเทียนสีแดง โลหะแบเรียมจะให้เปลวเทียนสีเหลือง เมื่อผสมสารประกอบต่างๆ เข้ากับพาราฟิน ปรากฏว่าไม่ผสมเข้าด้วยกัน จึงใช้วิธีเอาไส้เทียนแช่ในสารละลายของสารประกอบต่าง ๆ โดยการเตรียมสารละลายต่าง ๆ กันคือ สารเคมีผสมน้ำ สารเคมีผสมกรดไฮโดรคลอริก สารเคมีผสมกรดโอเลอิก สารเคมีผสมกรดไฮโดรคลอริกและกรดโอเลอิก ปรากฏว่า สารประกอบที่ผสมในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก จะให้สีของเปลวเทียนชัดเจนที่สุด รองลงมาคือ สารเคมีผสมไฮโดรคลอริกและกรดโอเลอิก