โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสีสรรพ์ที่แสนสวยด้วยแทนนิน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป126/2538 ผู้ทำโครงงานมีวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานนนี้เพื่อสังเคราะห์ตัวสีจากสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาดที่พบในพืชทั่วไป เพื่อศึกษาสมบัติของสีสังเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของสีที่สังเคราะห์ได้ และนำเอาสีที่สังเคราะห์ได้มาใช้ให้ได้มากที่สุด ตลอดจนสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าจากวัสดุเหลือใช้ที่มีในท้องถิ่น ผู้ทำโครงงานได้ศึกษาและทำการสังเคราะห์ตัวสีขึ้นมาใหม่ โดยใช้สารแทนนินซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาดในพืชชนิดต่าง ๆ 9 ชนิด คือ ใบชา, ผลมหัสไอ, เมล็ดมะม่วง, เมล็ดมะปราง, เปลือกมังคุด, ใบพลู, ผลหมาก, รากยอ และ ผลตะโก นำมาทำปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายเกลือของโลหะทรานสิชั่นต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการจำนวน 11 ชนิด คือ (NH4)2Fe(So4)2, NH4Mo7O24, K2Cr2O7, Pb(NO3)2, NiSO4.6H2O,MnSO4.7H2O, K3[Fe(CN)6], KMO4, CuCO3, CuSO4 และ NH4FeC6H5O7 ปรากฏว่าเกิดตัวสีขึ้นมากมายหลายสี จากการทดลองพบว่ายิ่งใช้สารละลายมีความเข้มข้นมาก ก็จะยิ่งให้ตัวสีที่มีความเข้มของสีมาก และสีที่นำไปใช้จะให้สีที่สดใสยิ่งขึ้น การเพิ่มจำนวนของตัวสีสามารถทำได้โดยการนำสีสังเคราะห์จากสารแทนนินที่ได้จากการทดลองนี้มาเติมสารเคมีชนิดใหม่ลงไปผสมจะให้สีตัวใหม่ที่มีสีแตกต่างไปจากเดิม ทำให้สามารถผลิตตัวสีได้มากมายหลายสี เมื่อทำการผสมตัวสีที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยสารแทนนินต่าง ๆ กันมาผสมกัน จะเกิดตัวสีชนิดใหม่ที่มีสีแตกต่างจากเดิม และผลการผสมตัวสีจะแตกต่างจากตัวสีที่ขายตามท้องตลาด จากการทดลองนำตัวสีที่ได้มาใช้ประโยชน์ โดยนำมาระบายรูปภาพปรากฏว่าภาพที่ได้มีลักษณะของสีเช่นเดียวกับการระบายด้วยสีที่นำมาขายตามท้องตลาดและเมื่อนำตัวสีมาใช้ทดลองย้อมผ้า ปรากฏว่าสีติดผ้าได้เป็นอย่างดีแต่ต้องมีการผสมสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวมอร์แดนต์ลงไปด้วยจะทำให้สีติดผ้าได้ทนนานยิ่งขึ้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทัศนีย์ ยานัง
ทิพวรรณ โนเป็ง
ลลนา สุภาวัง
ศรินพร พิณสุวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(21) p80
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ตัวสี การสังเคราะห์
แทนนิน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์