โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วยไข่
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 7 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาส่วนต่างๆของต้นกล้วยไข่ที่ให้เส้นใยที่เหมาะสม พบว่า ก้านใบแห้งมีความพรุน เส้นใยเกาะกันตัวได้ดี น้ำหนักเบา ตอนที่ 2 ศึกษาและเปรียบเทียบก้านใบสด และก้านใบแห้งของต้นกล้วยไข่ พบว่า ก้านใบแห้งมีความพรุนเส้นใยเกาะตัวกันเป็นแผ่นได้ง่าย ตอนที่ 3 ศึกษาการต้านแรงดึงของก้านใบกล้วยไข่แห้ง และกาบกล้วยไข่แห้ง พบว่า ก้านกล้วยไข่แห้ง และกาบกล้วยไข่แห้งขนาด 2.5 มิลลิเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สามารถต้านแรงดึงได้ 3,560 และ 3,460 นิวตันตามลำดับ ตอนที่ 4 ศึกษาการต้านน้ำหนักในแนวดิ่งของก้านใบกล้วยไข่แห้ง และกาบกล้วยไข่แห้ง พบว่า ก้านใบกล้วยไข่แห้ง และกาบกล้วยไข่แห้งขนาด 5 มิลลิเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 20 นิวตัน ตอนที่ 5 ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสม พบว่าความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์16% โดยมวลต่อปริมาตร ทำให้แผ่นกล้วยไข่ มีเส้นใยกระจายตัวดีทำเป็นแผ่นได้ง่าย ตอนที่ 6 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของกาบกล้วยไข่แห้งกับวัสดุชนิดต่างๆ พบว่า ส่วนผสมระหว่างกาบกล้วยไข่กับกาวจากแป้งมันสำปะหลังในอัตราส่วน 1 กรัม : 1.5กรัม ทำให้เส้นใยของแผ่นกล้วยไข่ มีความแข็งแรงมากที่สุด ตอนที่ 7 เปรียบเทียบคุณสมบัติด้านความแข็งแรงของแผ่นกล้วยไข่ที่ได้จากการทดลองตอนที่6 พบว่าสามารถรับแรงกระแทกจากการปล่อยวัตถุที่ระยะสูง 1 เมตร ได้ประมาณ 20 นิวตัน จากการศึกษาคุณสมบัติต่างๆของต้นกล้วยไข่พบว่า มีคุณสมบัติที่สามารถพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆในครัวเรือนได้ เช่นเชือก หมวก เสื่อ ตะกร้า กระดาษ ซึ่งเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นำชัย วงค์เปี้ย
นิคม หอมบุบผา
นิวัฒน์ สิงหะบุตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญญา โสดถานา
พิทยา คงศัตรา
ภิญโญ แก่งศิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์