โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องบาติกจากน้ำถั่ว
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง บาติกน้ำถั่ว มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอันตรายในการทำผ้าบาติก เนื่องจากขั้นตอนในการใช้น้ำเทียนเป็นขั้นตอนที่เกิดอันตรายได้ง่ายและร้ายแรง จึงต้องหาสวิ่งที่มาทดแทนน้ำแทนได้ โดยคณะผู้จัดทำได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 ศึกษาหารสารที่สามารถนมาทดแทนเทียนได้ ตอนที่ 2 ศึกษาหาความเข้มข้นของสาร จากการทดลองได้ผลดังนี้สารที่สามารถกั้นสีได้ดีที่สุดคือ ถั่วลิสง โดยมีค่าเฉลี่ยของลักษณะเส้นที่ปรากฎและคุณภาพเส้น คือ 4.5โดยมีลักษณะของเส้นที่คมชัด กั้นสีได้ดีไม่ซึม ลำดับต่อมาคือ ถั่วเหลืองโดยมีค่าเฉลี่ยของลักษณะเส้นที่ปรากฎ คือ 3.0 ค่าเฉลี่ยของคุณภาพของเส้น คือ 2.75 ถัวแดงมีค่าเฉลี่ยคือ 2.25 และ 1.75 ถั่วเขียว มีค่าเฉลี่ย 1.0 และ 1.5 ถั่วดำ มีค่าเฉลี่ย คือ 1.25 และ 1.0 อัตราส่วนความเข้มของสารต่อน้ำที่ดีที่สุด คือ สาร 100 g ต่อน้ำ 7cm3 โดยลักษณะของเส้นที่ปรากฎ จะคมชัดดีมากหากอัตราส่วนของน้ำมากกว่า 7 cm3 จะทำให้เส้นที่ปรากฎไม่คมชัดและไม่สามารถกั้นสีได้ หากอัตราส่วนของน้ำน้อยกว่า 7 cm3 จะทำให้มีความเข้มข้นมากเกินไปทำให้ไม่สามารถนำไปเขียนได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลรัตน์ กำจรกิตติคุณ
นันทนัช คุณสุวรรณ์
นิศานาถ พวงหิรัญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา ชำนาญกิจ
ธีรพล จิณแพทย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคกลาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์