โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผ้าบาติกจากสารธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการทำผ้าบาติกจากสารธรรมชาติโดยทดลองใช้น้ำแป้งจากถั่วชนิดต่างๆ แทนน้ำเทียนในการเขียนลายผ้าบาติก ซึ่งใช้ถั่ว 4 ชนิด คือ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลืองและถั่วดำ นำมาปั่นกับน้ำ แล้วทำการทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสม พบว่าผ้าบาติกที่เขียนลายด้วยน้ำแป้งจากถั่วลิสงในอัตราส่วน 125 กรัมต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร มีลักษณะลายเส้นคมชัดไม่แตก สามารถกันสีไม่ให้ซึมเข้าหากัน จากนั้นทำการทดลองคุณภาพสีจากธรรมชาติที่ใช้ในการระบายแทนสีบาติก โดยใช้วัสดุธรรมชาติ 3 ชนิด คือ เปลือกมะเกลือ เปลือกตะโก เปลือกขนุน นำมาคั้นน้ำใช้ระบายลงบนผ้าที่วาดลายไว้แล้วนำไปซัก เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพกับสีย้อมผ้า พบว่าสีที่ได้มีคุณภาพเท่ากัน จากการศึกษาอัตราส่วนในการผสมสีธรรมชาติกับน้ำ โดยระบายลงบนผ้าที่เคลือบด้วยสารกันสีตกโซเดียมซิลิเกตซึ่งช่วยการยึดเกาะของสี พบว่าอัตราส่วนที่ดีที่สุด คือ 125 กรัม ต่อ น้ำ 100 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร และผลการศึกษาวิธีทำสารช่วยการยึดเกาะของสีจากธรรมชาติแทนสารโซเดียมซิลิเกต พบว่าสามารถใช้สารจากหยวกกล้วยซึ่งได้จากการนำหยวกกล้วยหมักกับน้ำเป็นเวลา 2 วันในอัตราส่วน 2,000 กรัม ต่อ น้ำ 100 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร นำไปต้ม ใช้เคลือบลงบนผ้า แล้วนำไปซักก่อนนำไปเขียนลายและระบายสี จะทำให้การยึดเกาะของสีดีที่สุด สามารถใช้เป็นสารกันสีตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤษนัย กัลปะ

  • นนทกร จันทรวรกาญจน์

  • อนุชา คนงานดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิภาพร ประชากุล

  • อุไรวรรณ ศรีสุวรรณาภรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิสุทธรังษี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคกลาง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์