โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกับดักลูกน้ำชนิดจมและกับดักลูกน้ำยุงชนิดลอย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประดิษฐ์กับดักลูกน้ำยุงชนิดจมและประดิษฐ์กับดักลูกน้ำยุงชนิดลอย และเปรียบเทียบประสิทธิผลของกับดักลูกน้ำยุงทั้ง 2 ชนิด โดยนำกับดักลูกน้ำยุงชนิดจม และชนิดลอยอย่างละ 1 อันไปวางไว้ในภาชนะถังซีเมนต์เก็บน้ำ และต้องยกกับดักลูกน้ำทั้ง 2 ชนิด ในภาชนะถังซีเมนต์เก็บน้ำขึ้นมานับจำนวนลูกน้ำที่ดักได้ตามกำหนดเวลา จนครบ 5 วัน จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดักจับลูกน้ำยุงของกับดักชนิดจมและกับดักชนิดลอยในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน พบว่ากับดักลูกน้ำยุงชนิดจมดักจับลูกน้ำยุงเฉลี่ย 96.8 ตัว/วัน ซึ่งมากกว่ากับดักลูกน้ำยุงชนิดลอยที่ดักจับลูกน้ำยุงเฉลี่ย 68 ตัว/วัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ขวัญหทัย ตาทิพย์

  • วรรณวิรัตน์ สุทธยากร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์