โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการล่อแมลงวันทองด้วยคอลูบรินัม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรภัทร์ สุขสวัสดิ์
นฤพร หนูเสมียน
เรียวไผ่ จันทรชิต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิต นวนแก้ว
นิตยา ทวีกิจการ
รัชนี ชูนาค
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การควบคุม แมลงวันทอง
พืช คอลูบรินัม
แมลงศัตรูพืช
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการใช้สมุนไพรเป็นกับดักล่อแมลงวันทอง โดยใช้พืช 7 ชนิด คือ กะเพราแดง ว่านชักมดลูก พลูป่า ต้อยติ่ง หูกวาง ไพลและคอลูบรินัม พบว่าคอลูบรินัมสามารถล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด รองลงมา คือ กะเพราแดง พลูป่า หูกวาง ไพล ว่านชักมดลูกและต้อยติ่ง ตามลำดับ การทดลองที่ 2 นำคอลูบรินัมมาใช้เป็นกับดัก โดยจากการทดลองหารูปแบบภาชนะที่สามารถล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด พบว่าภาชนะแบบผ่าครึ่งสามารถล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด การทดลองที่ 3 ทดลองหาประสิทธิภาพในการล่อแมลงวันทองของส่วนต่างๆ จากต้นคอลูบรินัม ผลการทดลองพบว่าส่วนลำต้นของคอลูบรินัมมีประสิทธิภาพในการล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด รองลงมาคือใบและราก ตามลำดับ และการทดลองที่ 4 ศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการล่อแมลงวันทองโดยเปรียบเทียบจำนวนแมลงวันทองที่ติดกับดัก พบว่าช่วงเวลา 09.00-12.00 น. เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด รองลงมา คือ 12.00-15.00 น. 06.00-09.00 น. และ 15.00-18.00 น. ตามลำดับ