โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของหางไหลแดงที่มีต่อการกำจัดปลานิล และหอยขี้นก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหากุ้งขาวขาดตลาดจากปัญหาการระบาดของสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่งผลถึงด้านการเจริญเติบโตของกุ้ง ผลผลิตที่ต่ำของเกษตร รวมไปถึงปัญหาจากการใช้สารเคมีบางประเภทของเกษตรกร รวมไปถึงปัญหาจากการใช้สารเคมีบางประเภทของเกษตรกรที่ต้องการกำจัดสัตว์น้ำเหล่านี้ ผู้จัดทำได้ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดปลานิล และหอยขี้นกของหางไหลแดงส่วนต่างๆ ได้แก่ ราก ต้นไม้ และใบ โดยเปรียบเทียบค่าความเป็นพิษที่ทำให้สัตว์ตายภายใน 48 ชั่วโมง พบว่าหางไหลแดงส่วนรากมีความเป็นพิษมากที่สุด มากกว่าปลานิล และหอยขี้นกตามลำดับ รองลงมาคือส่วนลำต้นและส่วนใบ นอกจากนี้การเลี้ยงในความเค็มต่างกัน ได้แก่ 5, 15 และ 25 ppt พบว่าหางไหลแดงส่วนรากมีความเป็นพิษสูงขึ้นในน้ำที่มีระดับความเค็มสูงขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรใช้หางไหลแดงส่วนรากในการกำจัดสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการ โดยในน้ำที่มีความเค็มสูงจะให้ผลที่ดีกว่า คือที่ระดับความเค็ม 25 ppt ต้องใช้ในปริมาณ 45 65 ppm
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุติมณฑน์ ประทุมมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลานิล กำจัด
หอยขี้นก กำจัด
หางไหลแดง ราก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์