โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องBM ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาริฉัตร เศียรอินทร์
ลลิตา มณีภาค
ลิต้า ทองเกลี้ยง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญทองแดง ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษกรอง
พืช การสกัด
ยูนิเวอร์ซันอินดิเคเตอร์
ลิตมัส
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะของสีที่สกัดได้จากพืชท้องถิ่นแต่ละชนิดบนกระดาษกรอง เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงสีเมื่อยู่ในสภาพกรด-เบสที่แตกต่างกัน ซึ่งจุดมุ่งหมายคือนำมาใช้แทนยูนิเวอร์ซันอินดิเคเตอร์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยทำการทดลองทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาลักษณะของสีที่สกัดได้จากพืชท้องถิ่นแต่ละชนิดบนกระดาษกรอง ผลคือได้สีที่แตกต่างกัน เช่น อัญชันเป็นสีน้ำเงินเข้ม กะหล่ำเป็นสีม่วงอ่อน และเฟื่องฟ้าเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นต้น ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนสีที่สกัดได้จากพืชท้องถิ่นแต่ละชนิดบนกระดาษกรองเมื่อทดสอบกับสารละลายที่มีค่า pH ต่างกัน ผลคืออัญชันมีการเปลี่ยนสีที่สามารถบอกความแตกต่างในสารละลายที่ค่า pH 1-3 และ 12-14 กะหล่ำปลีม่วงมีการเปลี่ยนสีที่สามารถบอกความแตกต่างในสารละลายที่ค่า pH 2,9 และ 13-14 เฟื่องฟ้ามีการเปลี่ยนสีที่สามารถบอกความแตกต่างในสารละลายที่ค่า pH5-7 และ 10-14ขมิ้นมีการเปลี่ยนสีที่สามารถบอกความแตกต่างในสารละลายที่ค่า pH 8-14 ตอนที่ 3 เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของพืชต่อตัวทำละลายในการสกัดสีจากพืชที่มีผลต่อความติดทนของสีบนกระดาษกรอง ผลคือ อัตราส่วน 2:1 มีการติดทนบนกระดาษกรองดีที่สุด ตอนที่ 4 เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการแช่กระดาษกรองในสสารละลายสีที่สกัดได้จากพืช ผลคือ ระยะเวลาในการแช่กระดาษมีผลต่อการติดทนของสีบนกระดาษกรอง นั่นคือ เวลา 2 ชั่วโมงมีการติดทนของสีดีที่สุด ตอนที่ 5 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนสีของกระดาษ BM ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ และ BMลิตมัส เมื่อทดสอบกับสารละลายที่มีค่า pH ต่างกัน ผลคือ BM ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์และBM ลิตมัส มีการเปลี่ยนสีในสารละลายที่มีค่า pH ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราสามารถใช้ BM ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์และBM ลิตมัส แทนกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์และกระดาษลิตมัสตามท้องตลาดได้