โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาฟิล์มบางมิวซิเลจยืดอายุไข่
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญที่เป็นนิยมของผู้บริโภค ปัญหาการเสื่อมสภาพของไข่จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ไข่ที่เก็บไว้มีการเสื่อมสภาพลงทุกวัน จึงได้ทำการเก็บไข่ที่อยู่ได้นานโดยมีต้นทุนต่ำ ด้วยสารมิวซิเลจที่สกัดจากเมล็ดแมงลัก และทำการระบายความร้อนในไข่โดยใช้ผงคาร์บอน ป้องกันการเสื่อมสภาพด้วยเทนนินจากเปลือกมังคุด ป้องกันการสูญเสียน้ำด้วยน้ำมันพืช ประสิทธิภาพของสารเคลือบจะเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนเปลือกไข่ จะช่วยเพิ่มการปกป้องและป้องกันการซึมผ่านต่อการเคลื่อนย้ายความชื้นผ่านเปลือกไข่ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักของไข่ได้ดีกว่าห่อด้วยฟิล์มพลาสติก 2% และดีกว่าที่วางไว้ที่อุณหภูมิห้องโดยไมเคลือบ 3% ในเวลา 10 วันและสภาพของไข่แดงที่ห่อด้วยฟิล์มเคลือบไข่สามารถเก็บความสดได้นาน 40 วัน น้ำหนักหายไปเพียง 3.1 กรัม หรือ 7% ของน้ำหนักไข่ ไข่แดงกับไข่ขาวไม่รวมกัน และจะเริ่มเสื่อมสภาพหลัง 50 วัน ไข่แดงกับไข่ขาวจึงเริ่มรวมตัวกัน ดังนั้นฟิล์มเคลือบไข่ที่ผลิตขึ้นจึงเป็นฟิล์มที่สามารถยืดอายุไข่ให้สดนาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุวรรณ คมเกล้า
ณัฐณิชา พัฒนสงห์
ธนธรณ์ จิตติ์เส้ง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทกายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ฟิล์ม
มิวซิเลจ
ไข่การเก็บรักษา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์