โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไม้เทียมจากพลาสติกผสมเส้นใยพืช
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเส้นใยพืชต่างๆ และนำเส้นใยพืชมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตไม้เทียม เพื่อเป็นต้นแบบในการใช้ทดแทนไม้จริง ทำการทดลองทั้งหมด 5 ขั้นตอนคือ 1.ศึกษาชนิดของเส้นใยพืชที่มีผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไม้เทียม พบว่า ไม้เทียมจากขี้เลื่อยรับแรงอัดกระทบได้มากที่สุดคือ 36848.0 นิวตัน 2.ศึกษาชนิดของเส้นใยพืชอบแห้งที่มีผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไม้เทียม พบว่า ไม้เทียมจากขี้เลื่อยรับแรงอัดกระทบได้มากที่สุดคือ 36848.0 นิวตัน เช่นเดียวกับข้อ 1. 3.ศึกษาอัตราส่วนของเส้นใยพืชที่มีผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไม้เทียม พบว่า ไม้เทียมจากขี้เลื่อยอัตราส่วน 70 กรัม สามารถรับแรงอัดกระทบได้มากที่สุดคือ 38122.0 นิวตัน 4.ศึกษาอัตราส่วนของโฟมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไม้เทียม พบว่า ไม้เทียมจากสุพรรณิการ์ผสมโฟมอัตราส่วน 150 และ 170 กรัม สามารถรับแรงอีด กระทบได้มากที่สุดคือ 35966.0 นิวตัน 5.ศึกษาการพัฒนาคุณสมบัติด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์ไม้เทียมโดยใช้เปลือกหอยแครงและกระดองปู พบว่าไม้เทียมขี้เลื่อยผสมเปลือกหอยแครง สามารถรับน้ำหนัก และมีความหนาแน่นของเนื้อไม้มากกว่าไม้เทียมสุพรรณิการ์ผสมเปลือกหอยแครง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธณกร พาณิชวราห์
ปรียาภรณ์ คุ้มทรัพย์
สุดารัตน์ ดอกไม้หอม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
สิ่งประดิษฐ์
ไม้เทียม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์