โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญานี สิงห์ทอง
ณัฐวุฒิ สิงห์ทอง
บุษราภรณ์ ฤทธิ์ฉ่ำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปรัตถกร ยิ้มเนียม
วัชรา จรูญผล
อรพิน อินทรโฆษิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทย์กายภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ชีวมวลแท่ง
วัสดุเหลือใช้
เชื้อเพลิง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองมีค่าพลังงานความร้อนมากที่สุด คือ 2360 J เชื้อเพลิงอัดแท่งจากชานอ้อยมีค่าพลังงานมีค่าพลังงานความร้อนรองลงมาคือ 232 J และเชื้อเพลิงอัดแท่งจากซังข้าวโพดมีค่าพลังงานความร้อนน้อยที่สุด คือ 2230 J จึงนำเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองมาทดลองชนิดของตัวประสาน พบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองผสมแป้งมันมีค่าผลังงานความร้อนสูงกว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองผสมแป้งข้าวเหนียว คือ 2380 J และ 2340 J ตามลำดับ เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองแบบอัดเย็นมีค่าพลังงานสูงกว่าเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองแบบอัดร้อน คือ 2520 J และ 2440 J ตามลำดับ เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองแบบกลวงมีค่าพลังงานความร้อนสูงกว่าเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากถั่วเหลืองแบบตัน คือ 2240 J และ 2080 J ตามลำดับ