โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องMultifunctions from Cho Khraam Nam
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Multifunctions from Cho Khraam Nam เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อศึกษากระดาษและกระดานอัดจากช่อครามน้ำ โดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระดาษและกระดานอัดที่ผลิตได้จากช่อครามน้ำกับกระดาษสาและกระดานบอร์ดจากชานอ้อยทั่วไป แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ขั้นตอนแรก เป็นการผลิตกระดาษจากช่อครามน้ำ ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษากระบวนการผลิตกระดาษจากช่อครามน้ำ ตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของกระดาษจากช่อครามน้ำ และตอนที่ 3 การนำกระดาษจากต้นช่อครามน้ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผลการทดลองทั้ง 3 ตอน พบว่า ในกระบวนการผลิตกระดาษนั้นอัตราส่วนระหว่างเส้นใยภายในของช่อครามน้ำ (ฟองน้ำ ) ขนาด 200 กรัม กับปริมาณสารโซเดียม ไฮดรอกไซด์ 10 กรัม : น้ำ 1 ลิตร มีความเหมาะสมมาก เนื่องจากกระดาษที่ผลิตได้นั้นมีเนื้อกระดาษเรียบเนียนสวยงาม ส่วนการศึกษากระดาษจากช่อครามน้ำที่ใช้เวลาในการต้มต่างกันพบว่าการต้มที่ระยะเวลา 10 นาทีเหมาะสมที่สุดเพราะจะทำให้ได้กระดาษที่เรียบและไม่แข็งมากจนเกินไป และในการทดลองศึกษาประสิทธิภาพของกระดาษช่อครามน้ำที่ผลิตได้โดยนำมาทดลองเปรียบเทียบกับกระดาษสา พบว่ามีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันแต่กระดาษจากช่อครามน้ำสามารถทนต่อการเปื่อยยุ่ยจากสภาพน้ำและมีความทนไฟได้มากกว่า และเมื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระดาษห่อของขวัญหรือกล่องเอนกประสงค์พบว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาสวยงามใกล้เคียงกับกระดาษสา จากนั้นขั้นตอนต่อไปเป็นการผลิตกระดานอัดจากช่อครามน้ำ ซึ่งได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษากระบวนการผลิตกระดานอัดจากต้นช่อครามน้ำ ตอนที่ 2 ศึกษาคุณสมบัติของกระดานอัดจากต้นช่อครามน้ำ ตอนที่ 3 การนำกระดานอัดที่ผลิตได้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลการทดลองทั้ง 3 ตอนพบว่า ในกระบวนการผลิตกระดานอัดจากช่อครามน้ำนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ ปริมาณของเยื่อช่อครามน้ำ 300 กรัม : กาวลาเท็กซ์ 200 ml. จะทำให้เส้นใยผสานกันแน่น มีลักษณะหนาพอดี เส้นใยกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และในการศึกษาคุณสมบัติของกระดานอัดจากช่อครามน้ำโดยทำการทดลองเปรียบเทียบเยื่อของช่อครามน้ำ แบบละเอียดและแบบหยาบ พบว่าทั้ง 2 แบบให้คุณสมบัติของกระดานออกมาใกล้เคียงกัน คือ เส้นใยประสานกันแน่นมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอและมีลักษณะหนาพอดีส่วนที่แตกต่างกันคือ เยื่อที่มีความละเอียดเมื่อทำการอัดแล้วจะมีผิวที่เรียบมากกว่าเยื่อที่มีความหยาบ และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กล่องเอนกประสงค์ เป็นต้น ก็มีความสวยงาม แข็งแรง สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าส่งออกในท้องถิ่นได้ต่อไป
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พงษ์อำมาตย์ แขนงแก้ว
สิริพงศ์ สารทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์ประยุกต์ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษการทำ
ช่อครามการสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์