โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการลดปริมาณโลหะเจือปนในนำทิ้งด้วยมะรุม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจับตะกอนของมะรุมในน้ำทิ้งจากที่ต่างๆ วัสดุที่ใช้คือ ผลมะรุม สารเคมีที่ใช้คือ โปแทสเซียมไอโอไดร์ โปแทสเซียมโครเมต และโปแทสเซียมเฮกสะไซยาโนเฟอร์เรต อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ pH มิเตอร์ เครื่องชั่ง กระดาษกรอง วิธีการดำเนินการโดยนำส่วนต่างๆ ของผลมะรุม ได้แก่ เปลือก เอาไปปั่น ส่วนเมล็ดนำไปทุบ และส่วนของเนื้อมะรุม โดยนำส่วนต่างๆ ไปตากแดดให้แห้ง นำน้ำทิ้งจากที่ต่างๆ เช่น ตลาดสด อู่ซ่อมรถ และโรงงาน มาใส่ในบีกเกอร์แล้วนำมาหาสารจำพวกโลหะหนัก ทำการวัดค่า pH จากนั้นนำเปลือกมะรุมใส่ในน้ำทิ้ง ทิ้งไว้ 1 วัน เมื่อครบเวลานำน้ำมาวัดค่า pH และทดสอบหาสารจำพวกโลหะหนัก ส่วนเปลือกที่เหลือไปตากแดดให้แห้ง นำไปชั่งเพื่อหามวลที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับเปลือกมะรุมแต่เปลี่ยนเป็นเนื้อและเมล็ดของมะรุม สรุปผลการทดลองพบว่า เนื้อของมะรุมสามารถดูดซับสารโลหะหนักได้ดีกว่าเมล็ดและเปลือก ส่วนน้ำทิ้งจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นเมื่อแยกทำการทดสอบพบว่า ส่วนเปลือกของมะรุมจะดูดซับตะกอนโลหะตะกั่วในขณะที่เนื้อมะรุมจะดูดซับตะกอนโลหะทองแดง ส่วนเมล็ดมะรุมจะดูดซับตะกอนโลหะปรอท
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏกิจ ไมตรี
พรรณี ลายพิมพ์
อัจฉรา พงษ์รามัญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กาญจนา วงษ์เหรียญ
วิชยา มีวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ทั่วไป ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การดูดซับ
โลหะหนัก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์