โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำหมึกโรเนียวจากกะเม็ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑาทิพย์ โตมะนิตย์

  • จุฑามาศ โตมะนิตย์

  • ทิพวรรณ ศาสตร์พลกรัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สาโรช ภังคสังข์

  • เตือนจิตร สนสมบัติ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะเลิศประกวดรางวัลที่1สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • หมึก

  • หมึกโรเนียว กะเม็ง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การทำหมึกโรเนียวจากกะเม็ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำกะเม็งที่เป็นวัชพืชที่มากในท้องถิ่น มาทำเป็นหมึกโรเนียว ผู้ทดลองได้ดำเนินการทดลองโดย นำกะเม็งมาแช่ในน้ำเปล่า สนิมเหล็ก หินศิลาแลง โคลนดำ ผลปรากฏว่า กะเม็งที่แช่กับสนิมเหล็กให้น้ำหมึกสีดำที่สุด จึงนำกะเม็งมาแช่กับเหล็กที่เป็นสนิมเป็นเวลา 5เดือนแล้วกรองน้ำหมึกที่ได้ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง ใช้ผงกะเม็งแห้ง 4.5กรัม มาเคี่ยว 2วิธี คือใช้ ตัวทำละลายจำพวกทินเนอร์ น้ำมันสน น้ำมันก๊าด ได้น้ำหมึกที่มีตะกอนน้อยที่สุดคือใช้ทินเนอร์ วิธีที่2 นำมาเคี่ยวกับน้ำมะกรูด และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ ในอัตราส่วน คือ กะเม็ง 4.5 กรัม : น้ำมะกรูด 30cm3 : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ 10 cm3 คนจนมีลักษณะเหนียวหนืด จึงเติม กรดอะซิติกเข้มข้น 2 cm3 และ กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2 cm3 เพื่อให้มีสีดำใสติดทนนาน เติมพาราฟินเหลว และน้ำมันก๊าดอย่าง 1 cm3 แล้วใส่พาราฟินแข็งในอัตราส่วนต่างๆกันคือ 0.5, 1, 1.3, 1.5, 2 กรัมตามลำดับผลปรากฏว่าปริมาณพาราฟินแข็ง 1.3 กรัมมีลักษณะของเนื้อและความเข้มข้นพอเหมาะ จากนั้นผสมผงสีดำของ สีฝุ่น เขม่าน้ำมันก๊าด ผงกระดาษก๊อปปี้ ผงถ่านในอัตราส่วนละ 3 มิลลิกรัม แล้วปรับค่าความเป็นกรด-เบส ด้วยน้ำแอมโมเนีย 0.5 cm3 จะได้ส่วนผสมที่มีลักษณะคล้ายหมึกโรเนียว เมื่อนำมาหาค่าความหนาแน่นเฉลี่ยทั้งหมด 5 ครั้งเป็น 0.842 ซึ่งเป็นค่าใกล้เคียงกับค่าความหนาแน่นของหมึกโรเนียวที่ซื้อมาซึ่งเท่ากับ 0.85 นำหมึกโรเนียวที่ได้มาโรเนียวในปริมาณ 25 cm3 เปรียบกับหมึกโรเนียวในท้องตลาด ผลปรากฏว่า ได้ตัวอักษรชัดเจน แห้งเร็ว