โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสกัดไคโตแซนเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าวสายพันธ์หอมมะลิในเขต จ. นครนายก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาสกัดไคโตแซนจากเปลืองกุ้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของข้าวสายพันธุ์หอมมะลิ CH3COOH ที่ความเข้มข้น 1 โมล , 2โมล และ 3 โมล เป็นตัวทำละลาย นำสารละลายไคโตแซนที่ได้ทำเป็นปริมาณ 10% , 20% และ 30% ตามลำดับ เจือจางด้วยน้ำในอัตราส่วน 50 เท่า , 100 เท่า และ 200 เท่า ทำการเร่งการเจริญเติบโตของข้าวสายพันธุ์หอมมะลิ เป็น เวลา 60 วัน พบว่าสารละลายไคโตแซนที่ความเข้มข้น 1 mol ในปริมาณ 10% อัตราส่วนเจือจางต่อน้ำ 200 เท่า มีค่าความเจริญเติบโตของต้นข้าวมากที่สุดโดยวัดที่ความสูง มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 90.11 เซนติเมตร จากสัปดาห์แรก รองลงมาคือที่ความเข้มข้น 1 mol ในปริมาณ 10% และในอัตราส่วนเจือจางต่อน้ำ 100 เท่า มีค่าความเจริญของต้นข้าวแตกต่างอยู่ที่ 85.53 เซนติเมตร จากสัปดาห์แรกลำดับที่ 3 คือ ความเข้มข้นที่ 1 mol ในปริมาณ 20% และในอัตราส่วนเจือจางต่อน้ำ 50 เท่า มีค่าความเจริญของต้นข้าวแตกต่างอยู่ที่ 83.72 เซนติเมตร จากสัปดาห์แรก ส่วนข้าวที่ เจริญเติบโตน้อยที่สุด อยู่ที่ความเข้มข้น 3 mol ในปริมาณ 10% ในอัตราส่วนเจือจางต่อน้ำ 50 เท่ามีค่าความเจริญของต้นข้าวแตกต่างอยู่ที่ 55.71 เซนติเมตร จากสัปดาห์แรก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิริลักษณ์ สารี
สุพัตร สีลม
สุวดี พุทธา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศษสตร์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ข้าว การเจริญเติบโต
ไคโตแซน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์