โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาเส้นใยบอนโดยใช้ปรากฏการณ์ helix สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นวพรรษ สิทธิเหรียญชัย
พชรภรณ์ อิ้มทับ
สุขิตา ประทุมโทน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทกายภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
บอนเส้นใย
หัตถกรรม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาเส้นใยบอนโดยใช้ปรากฏการณ์ helix สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตเส้นใยบอนผสมก้านใบจากต้นบอนกับพืชชนิดอื่นที่สามารถใช้งานได้และมีคุณภาพใกล้เคียงมาตรฐาน และพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใยสำหรับใช้ในงานหัตถกรรรม มีการนำเทคนิคและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การระเหย การศึกษาโครงสร้างภายในของพืชประเภท บอน ผักตบชวา และกาบกล้วยโดยใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์ เตรียมและตรวจสอบความทนทานต่อแรงดึงของเส้นใยใช้ปรากฎการณ์ helix ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นใยบอน คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการทดลอง ศึกษาโครงสร้างเส้นใยจากพืชธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัสดุนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ปรากฏการณ์ helix ในเส้นเชือกเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเหนียวความทนทานของเส้นเชือกกับจำนวนรอบของ helix ศึกษาอัตรส่วนผสมของเส้นใยจากก้านใบต้นบอนกับเส้นใยพืชอื่นๆ เพื่อปรับปรุง คุณภาพของเส้นใยจากก้านใบต้นบอนและตรวจสอบประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของเส้นใยจากก้านใบต้นบอนกับผลิตภัณฑ์เส้นใย มาตรฐานผลิตเส้นใยผสมจากก้านใบต้นบอนนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมแบบต่างๆเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เส้นใยมาตรฐาน พบว่า เส้นใยบอนผสมก้านใบต้นบอน ก้านใบผักตบชวา กาบกล้วยตานี ขนาด 30x0.4 ตารางเซนติเมตร ในอัตราส่วนโดยจำนวนเส้น 1:1:1 บิดเป็นเกลียว (helix) จำนวน 20 รอบ และถักเปีย สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่สวยงาม ทนทานต่อแสงแดด และเชื้อรา เมื่อเปรียบต้นทุนการผลิตกับผลิตภัณฑ์ผักตบชวามาตรฐาน พบว่า ประหยัดร้อยละ 33.33