โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเจลาตินจากเกล็ดปลาเพื่อผลิตวัสดุกันกระแทก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานเรื่องการศึกษาเจลาตินจากเกล็ดปลาเพื่อผลิตวัสดุกันกระแทก จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและทดลองผลิตวัสดุกันกระแทกจากเจลาตินในเกล็ดปลาโดยนำวัสดุเหลือทิ้งในธรรมชาติมาทำใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการศึกษาเกล็ดปลาซึ่งมีเจลาตินเป็นส่วนประกอบ โดยการศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการสกัดเจลาติน โดยใช้เกล็ดปลาปริมาณ 40 กรัม แช่นาสารละลาย NaOH และสารละลาย CH3COOH เพื่อให้คอลลาเจน ในเกล็ดปลาเสียสาพ จากนั้นนำมาต้มที่อุณหภูมิ 70๐C นาน 2 ชั่วโมง จากนั้นนำมากรองเพื่อนำส่วนที่เป็นตะกอนทิ้ง นำสารละลายไปผ่านกระบวนการ hydrolysis จากนั้นกรองเอาตะกอนไประเหยจะได้ผลเจลาตินสีเหลืองอ่อน ใช้เป็นวัสดุในการผสมทำแผ่นกันกระแทกจากเจลาตินได้ พบว่าเจลาตินประมาณ 40 กรัม สามารถสกัดเจลาตินได้คือ 5.39 กรัม ซึ่งมากกว่าเจลาตินปริมาณ 20 กรัม และ 30 กรัม ศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเจลาตินกับน้ำสำหรับผลิตแผ่นกันกระแทกจากเจลาตินจากเกล็ดปลา และวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและตรวจสอบ พบว่าเมื่อเติมแป้งข้าวโพดเพื่อเป็นตัวประสานเจลาติน 45 กรัม น้ำ 100 มิลลิลิตร และแป้งข้าวโพด 10 กรัม จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะสีเหลืองนวล มีความอ่อนนุ่มสูง ไม่ขาดง่าย มีความยืดหยุ่นสูง โดยสามารถทนต่อแรงดึงได้ 6.33 นิวตัน และเมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการกันกระแทกพบว่า เมื่อนำแผ่นกันกระแทกหุ้มหลอดทดลอง สามารถรอบรับแรงกระแทกสูงสุดได้ที่ความสูงสุด 2.48 เมตร อีกทั้งไม่ดูดซับน้ำ ไม่อ่อนตัว รูปร่างสมบัติคงเดิมเมื่อมีความชื้น ทนต่ออุณหภูมิได้ไม่มาก มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแผ่นแอร์บับเบิ้ล และจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต พบว่าสามารถประหยัดกว่าเนื่องจากมีราคาถูกกว่าแผ่นแอร์บับเบิ้ล และจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต พบว่าสามารถประหยัดกว่าเนื่องจากมีราคาถูกกว่าแผ่นแอร์บับเบิ้ลในขนาดเท่ากันคิดเป็นร้อยละของการประหยัดเท่ากับ 33.33
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทพร ติระวัฒน์
พรปวีณ์ คชหิรัญ
ศิลาวรรณ รักเสนาะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทกายภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
เกล็ดปลา
เจลาติน
แผ่นกันกระแทกการผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์