โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารสกัดหยาบจากสบู่แดงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต เปอร์เซนต์การตายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata Lugens Stal) และผลกระทบต่อมวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus Lividipennis Reuter)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ
สิทธิชัย เทพเดช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
มวนเขียวดูดไข่กำจัด
สบูแดงสารสกัด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำจัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาสารสกัดหยาบจากสบู่แดงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์การตายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (N.lugens) และผลกระทบต่อมวนเขียวดูดไข่ (C. lividipennis) เพื่อหาวีธีการกำจัดและป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดในนาข้าวตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ชนิด ช่วง Rf และระดับความเข้มข้น ของสารสกัดหยาบจากพืชวงศ์ Euphorbiaceae จำนวน 4 ชนิดได้แก่ สบู่แดง หญ้ายาง ลูกใต้ใบ และน้ำนมราชสีห์ ปรากฏว่า สารสกัดหยาบจากสบู่แดงมีความเป็นพิษแบบเฉียบพลันต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 54.00 ± 5.48 เปอร์เซ็นต์ และมวนเขียวดูดไข่ 18.00 ± 4.47 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ลูกใต้ใบ หญ้ายาง และน้ำนมราชสีห์ ตามลำดับ จำนวนสารสกัดจากสบู่แดงมาแยกสารด้วยวิธีการโครมาโทกราฟี