โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องบรรจุภัณฑ์ CMCรักษ์สิ่งแวดล้อมจากต้นกล้วยป่า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทิมา คุ้มครอง
วสวัตติ์ ทิ้งบริรักษ์
สุวนันท์ อาจหาญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
CMC
กล้วยป่า บรรจุภัณฑ์
เซลลูโลส เส้นใย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานบรรจุภัณฑ์CMCรักษ์สิ่งแวดล้อมจากต้นกล้วยป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชและปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการสกัดเส้นใยเซลลูโลส ชนิดของพลาสติไซเซอร์และอัตราส่วนที่เหมาะสมในการแปรรูปเยื่อเซลลูโลส และแนวทางการแปรรูปบรรจุภัณฑ์ซีเอ็มซี ที่มีคุณลมบัติสลายตัวได้ง่ายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่าต้นกล้วยป่าเป็นพืชที่เหมาะสมที่สุด โดยเส้นใยที่ได้มีความเหนียว เปื่อยยุ่ยได้เร็ว และให้ค่าน้ำหนักแห้งมากสุดเฉลี่ยเท่ากับ 2.10 g±0.20ต่อวัตถุดิบเริ่มต้น 10g และปัจจัยต่างๆที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยเซลลูโลสพบว่า ต้นกล้วยป่าที่ออกเครือแล้วจะเหมาะสมที่สุดให้ค่าน้ำหนักแห้งเฉลี่ยเท่ากับ2.97 g±0.31โดยความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมคือ 6 โมลาร์ ใช้เวลาสกัด 90 นาที ส่วนพลาสติไซเซอร์และอัตราส่วนที่เหมาะสมพบว่าพอลิเอทิลีนไกลคอนเป็นพลาสติไซเซอร์ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าความเค้นสูงสุดเท่ากับ20.69 kPaโดยใช้พอลิเอทิลีนไกลคอนที่เข้มข้น0.20 โมลาร์และมีอัตราส่วนระหว่าง ซีเอ็มซี : เยื่อเซลลูโลส : พลาสติไซเซอร์ เป็น40 : 50 : 10 โดยปริมาตร/ปริมาตร ในการแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ซีเอ็มซี ประเภทถุงกระดาษ เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ทดแทนถุงพลาสติกได้ โดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวมีค่าความเค้น 35.17 kPa สามารถสลายตัวโดยเปื่อยยุ่ยทั้งในน้ำและการฝังดินได้อย่างรวดเร็ว โดยเริ่มพองตัวและเปื่อยยุ่ยเมื่อสัมผัสตั้งแต่วันแรกเป็นต้นไป จังสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป