โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีแก้การพักตัวของเมล็ด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐานิยา แซ่อุ่ย
วริสรา เหลืองลอง
อภิชญา บุญมา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักกระชับ การปลูก
ผักกระชับ การเจริญเติบโต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การปลูกผักกระชับจากภูมิปัญญาชาวบ้านต้องนำผลที่เก็บมาแช่นานถึง 3 เดือน เพื่อเป็นการเมล็ดโดยการแช่น้ำ เพื่อดูดซึมน้ำ เพราะเมล็ดบางเมล็ดมีความชื้นต่ำ อย่างไรก็ตามการพักเมล็ดที่ใช้ระยะเวลานาน 3 เดือน ส่งผลให้ชาวบ้านได้ผลผลิตช้า คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีแก้การพักตัวของเมล็ด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาในการแช่เมล็ดที่ส่งผลต่ออัตราการงอกของเมล็ดผักกระชับ และเพื่อเปรียบเทียบอัตราการงอกของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีการพักตัวของเมล็ด ซึ่งในการทดลองจะแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาระยะเวลาในการแช่เมล็ดผักกระชับ ด้วยจำนวน 15, 20, 25 และ 30 วัน พบว่า วันที่ 30 มีดัชนีการงอกดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับ 5.16 ตอนที่ 2 เปรียบเทียบการแก้การพักตัวของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองพบว่าดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีการพักตัวของเมล็ด ทั้ง 6 วิธี พบว่า วิธีแก้การพักตัวของเมล็ดที่ส่งผลต่อดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับได้ดีที่สุด ได้แก่ การใช้หัวทรายจำนวน 3 หัว โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับ 5.28 ดังนั้น โครงงานศึกษาดัชนีการงอกของเมล็ดผักกระชับด้วยวิธีแก้การพักตัวของเมล็ดจึงสามารถย่นระยะเวลาในการพักตัวของเมล็ดผักกระชับได้