โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องจากวัสดุเหลือใช้สู่เครื่องแยกไข่กลไกแรง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีรศักดิ์ ใจฟู

  • นาตยา รักพ่วง

  • ลดาวัลย์ ธรรมรักษ์กุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • รัชนี โสดถานา

  • รุ่งฤดี มโนรัตน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้ได้ศึกษาลักษณะ ความเอียง จำนวนช่องบนราง ความกว้างของช่องบนราง ที่เหมาะสมของเครื่องแยกไข่ ประสิทธิภาพของเครื่องในการแยกไข่ขนาดและชนิดต่างๆ ประสิทธิภาพของเครื่องในการแยกไข่ครั้งละหลายๆฟอง และเปรียบเทียบเวลาในการแยกไข่ของเครื่องกับคน พบว่าเครื่องแยกไข่ที่มีแผงเป็นลักษณะแบบมีร่อง สามารถแยกไข่ขาวได้ในปริมาณที่มากกว่าแผงที่มีลักษณะแบบเรียบถึง 2.74 เท่า เครื่องแยกไข่ที่มีความเอียง 30 องศา สามารถแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงได้ในปริมาณเปอร์เซ็นต์สูงสุด ที่เหมาะสมรองลงมาคือ 35 และ40 องศาตามลำดับ ส่วน20 และ25 องศาไม่สามารถแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงได้ เครื่องแยกไข่ที่มีจำนวนช่องบนราง 5 ช่อง สามารถแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงได้ในปริมาณเปอร์เซ็นต์สูงสุด ส่วนจำนวนช่องที่เหมาะสมรองลงมาคือ 4, 3, 2 และ1 ช่องตามลำดับ และเครื่องแยกไข่ที่มีความกว้างของช่องบนราง 0.2 cm. สามารถแยกไข่ขาวได้ปริมาณมากที่สุด ส่วนความกว้างที่เหมาะสมรองลงมาคือ 0.3 และ0.1 cm. ตามลำดับ ส่วน 0.4 และ0.5 cm.ไม่สามารถแยกไข่ขาวได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องสามารถแยกไข่ไก่ สามารถแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงได้ในปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือ เบอร์3, 2 1 และ0 ตามลำดับ และเครื่องยังสามารถแยกไข่ไก่ได้ดีกว่าไข่เป็ดถึง 1.29 เท่า เครื่องสามารถแยกไข่ครั้งละ 1 ฟองได้ดีที่สุด และเครื่องยังสามารถแยกไข่ได้เร็วกว่ามือคนถึง 9.41 เท่า