โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวทำละลายของน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ดจากพืชที่ให้สี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐชา นีรพัฒนกุล

  • ปรายฟ้า สิงห์สายชล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปากกาไวท์บอร์ด

  • พืชสารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันสารสังเคราะห์หลายชนิด เช่น ไซลีนโทลูอีน ทินเนอร์ เป็นส่วนผสมของน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ด ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นพิษต่อร่างกายของคน โดยเฉพาะครูและนักเรียนที่ต้องใช้ปากกาไวท์บอร์ดในการเรียนการสอนตลอดเวลา จึงมีโอกาสที่จะได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าไปในปริมาณมาก คณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาส่วนผสมที่นำมาทดแทนสารพิษเหล่านี้ในปากกาไวท์บอร์ด โดยคงประสิทธิภาพของน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ด ให้มีคุณภาพเช่นเดิม โดยมีการทดลอง 3 ตอน ได้แก่ การทดลองเปรียบเทียบสีที่สกัดจากพืชให้สี 2 สี คือสีน้ำเงิน และสีแดง ซึ่งแต่ละสีจะสกัดเปรียบเทียบจากพืช 3 ชนิด พบว่าสีที่สกัดจากบีทรูทและกะหล่ำม่วงเหมาะที่จะนำมาทำน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ดมากที่สุด เนื่องจากมีความคงทน ไม่ซีดจาง เนื้อสีใส ไม่มีตะกอนและมีสีเข้มชัดเจน การทดลองที่ 2 คือ การทดลองเปรียบเทียบชนิดของน้ำมันที่ใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ด พบว่าน้ำมันรำข้าวเหมาะสมที่จะเป็นส่วนประกอบของน้ำหมึกมากที่สุด เพราะมีความคงทนต่ออุณภูมิ ไม่แข็งตัวเมื่ออุณภูมิต่ำลง และจากการทดลองที่ 3 คือการทดลองเปรียบเทียบอัตราส่วนตัวทำละลายที่ทำให้น้ำหมึกมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากอัตรส่วนโพรพานอล:น้ำมันรำข้าว:น้ำสี ได้ผลการทดลองคือ อัตราส่วน 8:2:5 ทำให้น้ำหมึกมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยน้ำหมึกที่ได้มีสีเข้มชัดเจน แห้งเร็ว ลบออกง่าย สามารถนำน้ำหมึกปากกาไวท์บอร์ดที่ได้ไปใช้ทดแทนน้ำหมึกพิษ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากพิษของสารสังเคราะห์อื่นๆได้