โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องพืชพรรณหลากสีประยุกต์สู่กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัทฐณิชา แก้วอำดี
พีรดา แก้วน้ำเพชร
วาสินี อินนุรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
พืช การประยุกต์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องพืชพรรณหลากสีประยุกต์สู่กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากพืชตัวอย่างด้วยวิธีโครมาโทกราฟี ศึกษาความเป็นอินดิเคเตอร์ของสารละลายสีสกัดจากพืชตัวอย่าง ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสารละลายสีสกัดสำหรับทำสารละลายยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ศึกษาชนิดของตัวดูดซับที่เหมาะสมในการทำกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์จากสารละลายสีสกัด และศึกษาประสิทธิภาพของสารช่วยติดสี(เกลือแกง) ในการเพิ่มความสามารถการดูดซับสารละลายสีสกัดของตัวดูดซับ ซึ่งโครงงานนี้ได้นำพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติและท้องถิ่นจำนวน 10 ชนิด คือ กะหล่ำปลีสีม่วง อัญชัญ หางนกยูง เฟื่องฟ้า กุหลาบ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ลีลาวดี เข็มแดง พุทธรักษา(สีเหลือง) และพุทธรักษา(สีแดง) มาสกัดด้วยตัวทำละลาย จนได้สารละลายสีสกัด เพื่อนำไปทดสอบความเป็นอินดิเคเตอร์ด้วยสารละลายกรด กลาง และเบส จากนั้นหาอัตราส่วนในการผสมสารละลายสีสกัดสำหรับทำสารละลายยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ และประยุกต์สู่กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ด้วยการหาชนิดของตัวดูดซับที่เหมาะสม และการเติมสารที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับ จากการศึกษาพบว่า ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากพืชตัวอย่างทั้ง 10 ชนิด สมารถใช้ทั้งแอลกอฮอล์ น้ำ และแอลกอฮอล์ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1 เป็นตัวทำละลาย และเมื่อนำสารละลายสีสกัดทดสอบความเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่าพืชที่สามารถนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง อัญชัญ หางนกยูง เฟื่องฟ้า กุหลาบ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ลีลาวดี และเข็มแดง และเมื่อหาอัตราส่วนในการผสมสารละลายสีสกัดสำหรับทำสารละลายยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสม ได้แก่ การผสม อัญชัญ หางนกยูง ลีลาวดีและเข็มแดง ในอัตราส่วน 1:3:1:2 จากนั้นนำสารละลายที่ได้ไปประยุกต์สู่การทำกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ พบว่าตัวดูดซับที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่ กระดาษกรอง Whatman และการเติมสารช่วยติดสี(เกลือแกง) ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับสารละลายสีสกัดได้ดี และสีสันสวยสดกว่า ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้แทนสารเคมี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ใช้เอง