โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องคมเลื่อยขอดเกร็ดปลา
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในการประกอบอาหารหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา ต้องนำมาชำแหละและขอดเกล็ดออกสำหรับปลาที่มีเกล็ด โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะใช้มีดและอุปกรณ์ขอดเกล็ดปลา ดังนั้นทางกลุ่มจึงได้คิดประกอบชุดอุปกรณ์ใบเลื่อยขอดเกล็ดปลา จะอำนวยความสะดวกและระยะเวลาที่ใช้จะน้อยลง โดยได้ทดลองใชกับอุปกรณ์ดังกล่าว กับปลาจำนวน 8 ชนิด ขนาดต่างๆคือ ปลาสลิด ปลากระบอก ปลาแดง ปลาหมอ ปลานิล ปลาช่อน ปลาทับทิม และปลากระพง โดยแบ่งชนิดของปลาเป็นความยาวแต่ละขนาดเป็น 5 ขนาด สำหรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 7.5 โวลต์ ถ้าเกล็ดแข็งมากๆให้ปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็น 9 โวลต์สำหรับลักษณะคมเลื่อยที่มีคม 3 ด้าน จะใช้ขอดเกล็ดได้เร็วกว่าคมเลื่อยที่มีคม 2 ด้านเล็กน้อย เนื่องจากการสัมผัสของเกล็ดปลาแต่ละรอบหมุนได้มากกว่าและ ถ้านำอุปกรณ์ใบเลื่อยถอดเกล็ดปลามาเปรียบเทียบกับการใช้มีด และอุปกรณ์ขอดเกล็ดปลา โดยใช้ปลาชนิดและขนาดเดียวกันจะใช้เวลาเร็วกว่า ดังนั้นอุปกรณ์ชุดใบเลื่อยขอดเกล็ดปลาจะช่วยอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาในการขอดเกล็ดปลา ไม่ต้องออกแรงมาก ไม่มีอันตราย เนื่องจากใช้กระแสไฟฟ้าน้อย เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กพกพาสะดวก และสามารถปรับระดับความเร็วได้ตามความต้องการ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรภัทร รัตนอุไร
ยิบร่อเอล สุระคำแหง
เก่งดนัย ทิพย์รัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลาการขอดเกล็ด
สิ่งประดิษฐ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์