โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาสารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสมุนไพรป่า

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาสารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสมุนไพรป่า (Flavonoids compounds and Anti-bacterial Student of Wild Medicinal Plants) เป็นการศึกษาสารพฤกษเคมีในพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค โดยสกัดด้วยตัวทำลายซึ่งใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวทำละลายสารพฤษเคมีในพืช และนำสารสกัดทีได้ไปตรวจหาปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ในพืชทั้ง 3 ชนิด โดยเทียบกับกราฟความเข้มข้นมาตรฐานของ Quercetin พบว่า มะข่วงมีปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์มากทีสุด รองลงมาคือ มะขามป้อมและฝักส้มป่อย ตามลำดับ จากนั้นได้นำสารสกัดของพืชทั้ง 3 ชนิด ไปทดสอบฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย 3 ชนิดคือ Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25922 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 พบว่า บริเวณ clear zone มากที่สุดรองลงมาคือ มะขามป้อม และฝักส้มป่อย ตามลำดับ ดังนั้นมะข่วงจึงเป็นสมุนไพรป่าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิด เนื่องจากมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์มากที่สุด เมื่อเทียบกับพืชทั้ง 3 ชนิด จากการศึกษาโครงงานนี้จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือสำหรับฆ่าเชื้อโรคต่อไปได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธนทัต ภมรสุพรวิชิต

  • วิสสุตา วุฒิเสน

  • สุพรรษา กันยารอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสรรพวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ฟลาโวนอยด์

  • สมุนไพรป่า

  • แบคทีเรียการต้าน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์