โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาวิธีการลดปริมาณสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนวัฒน์ กองจันทึก
ภรณ์ศิริ โสมใจบุญ
เกียรติศักดิ์ บุตรฝาง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดิเรก นวสุขารมย์
ประภาภรณ์ วายุภักตร์
สมเกียรติ แก้ววิเวก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะออกเฉียงเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ฟอร์มาลิน
สารพิษตกค้างในอาหาร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาวิธีการลดปริมาณสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหารดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาวิธีการล้างอาหารสดที่มีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนโดยใช้สารละลายที่เหมาะสมโดยใช้สารละลายกรดแอซีติก (น้ำส้มสายชู 0.5 กรัมละลายน้ำ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร), สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม 0.1 กรัม ละลายน้ำ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร), สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง 0.4 กรัม ละลายน้ำ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร) และน้ำเปล่า พบว่า สารละลายที่เหมาะสมในการนำมาล้างอาหารสดที่ผ่านการแช่ฟอร์มาลิน คือสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ตอนที่2 ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่มีผลต่อการลดลงของสารฟอร์มาลิน โดยแช่ปลาหมึกสดในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ จำนวน 0.3, 0.4, 0.5, 0.6 และ 0.7 กรัม ละลายในน้ำ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร พบว่าสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.7 กรัม ละลายในน้ำ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีผลให้สารฟอร์มาลินลดลงมากที่สุด