โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเชื้อเพลิงอุ่นอาหารจากน้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้วในครัวเรือน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา เชื้อเถาว์
ธัญญารัตน์ ทรัพย์พร้อม
นริสา นักสิทธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิมิต วงศ์มณี
อัสรา วงศ์มณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เกิดขึ้นจากความสนใจน้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้วซึ่งมีปริมาณมาก เช่น น้ำมันจากการใช้งานของแม่ค้าไม่ว่าจะเป็นการทอดกล้วย ทอดลูกชิ้น ทอดไก่ ปลา นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำเชื้อเพลิงอุ่นอาหารที่ทำขึ้นเองกับเชื้อเพลิงอุ่นอาหารตามท้องตลาด และพบว่าเชื้อเพลิงอุ่นอาหารที่ใช้งานแล้วคือ น้ำมันบัว น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น การแสดงปริมาณเขม่าจากเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ซึ่งหากนำเชื้อเพลิงอุ่นอาหารอัตรา 3 ส่วนต่อน้ำมัน 1 ส่วน ค่าตะกอนและค่า pH ของน้ำมันหมูจะได้ผลดีที่สุด การทดสอบการติดไฟของน้ำมันชนิดต่างๆ พบว่าอัตราส่วนของเชื้อเพลิงอุ่นอาหารอัตรา 1 : 1 และอัตรา 2 :1 เชื้อเพลิงทั่วไปติดไฟได้ดีที่สุด อัตรา 3 : 1 น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันหมูจะมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด และอัตรา 4 : 1 เชื้อเพลิงทั่วไปและน้ำมันหมูติดไฟดีที่สุด และศึกษาประสิทธิภาพเชื้อเพลิงอุ่นอาหารที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากเปลือกผลไม้ลงไปที่จะทำให้การเผาไหม้นานขึ้น พบว่า น้ำมันถั่วเหลืองมีค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิขณะต้มน้ำมากที่สุด คือ 88.6 องศาเซลเซียส และมีค่าเฉลี่ยความร้อนที่ได้ผลดีที่สุด คือ 48.29 องศาเซลเซียส