โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาผลกระทบของสารละลายฟอร์มาลินที่มีผลต่อปลาหางนกยูง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาผลกระทบของสารละลายฟอร์มาลินที่มีผลต่อปลาหางนกยูง โดยนำสารละลายฟอร์มาลินความเข้มข้นต่างๆ ใส่ขวดแก้วเพื่อใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง เป็นเวลา 3 วัน แล้วเลือกความเข้มข้นที่ปลาดำรงชีวิตอยู่ได้มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปลาหางนกยูง จากการทดลองพบว่า ปลาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ที่ความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มาลินเท่ากับ 0.0001 โมล/ลิตร ในน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร และพบว่าสารฟอร์มาลินมีผลกระทบต่อปลาหางนกยูง คือทำให้สีครีบของปลาหางนกยูงเพศผู้ลดน้อยลง และทำให้ปลาหางนกยูงและลูกปลาที่เกิดมามีน้ำหนักตัวลดลง ดังนั้นควรลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ฟอร์มาลินในการเก็บรักษาอาหาร เพราะสารที่ตกค้างจากการล้างจะลงไปในน้ำซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มนัสชนก ราชพันธ์
สมหญิง น้ำใจมั่น
เพ็ญนภา แผลงฤทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์