โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอิฐมวลเบา W.P.C Block

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการผลิตวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ขึ้นมาแทนแบบเก่าซึ่งมีน้ำหนักมาก แบ่งการทดลองออกเป็นดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาชนิดของวัสดุเหลือใช้ที่มีผลต่อคุณภาพของอิฐ โดยนำปูนซีเมนต์และทรายผสมกัน แบ่งออกเป็น 3 ชุด คือชุดที่1ใส่กระดาษ ชุดที่2 ใส่ขี้เลื่อย ชุดที่3 ใส่กระดาษและขี้เลื่อย นำไปผึ่งแดดเป็นเวลา 3 วัน นำอิฐไปทดสอบคุณภาพ โดยไปรับแรงอัด จากการทดลองพบว่า อิฐที่มีกระดาษผสมกับขี้เลื่อย สามารถรับแรงอัดได้ดีที่สุด ตอนที่2 ศึกษาชนิดของวัสดุผสมที่มีผลต่อคุณภาพของอิฐ โดยนำปูนซีเมนต์ : ทราย : กระดาษผสมขี้เลื่อย แบ่งเป็น 3 ชุด โดยใช้อัตราส่วนต่างกัน ชุดที่1อัตราส่วน 1:2:6 ชุดที่2 อัตราส่วน 1:2:5 ชุดที่3 อัตราส่วน 1:2:4 นำอิฐไปผึ่งแดด 3 วัน จากนั้นนำไปทดสอบคุณภาพ โดยไปรับแรงอัด จากการทดลองพบว่า อิฐที่มีอัตราส่วนระหว่างปูนซีเมนต์ : ทราย : กระดาษผสมขี้เลื่อย เท่ากับ 1:2:6 สามารถรับแรงอัดได้ดีที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กมลวรรณ สุนทรศาสตร์

  • นรมน รอดสอาด

  • ภารวี เกิดแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประดับ นาคแก้ว

  • สุธีรา วงศ์ชวลิต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสงวนหญิง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคกลาง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์