โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพเครื่องหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยเพื่อสุขภาพเกษตรกร
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องประสิทธิภาพเครื่องหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยเพื่อสุขภาพเกษตรกร จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องหยอดเมล็ดพืชที่ผลิตขึ้นและเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเครื่องหยอดเมล็ดพืชกับจอบ ว่าช่วยผ่อนแรงให้แก่เกษตรกรในเรื่องของการปลูกพืชและหยอดปุ๋ย และสามารถหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยได้หลากหลายชนิด โดยที่เกษตรกรไม่ต้องก้มหลังหรืองอหลัง ทำให้ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพโดยเฉพาะเกษตรผู้สูงอายุ ในการทดลองได้ออกแบบการทดลองเป็น 4 ขั้นตอนเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดจากวัสดุเหลือใช้และทดลองปลูกพืชโดยใช้เมล็ดถั่วเขียวเป็นพืชทดลอง เปรียบเทียบกับการใช้จอบผลปรากฏว่าการใช้เครื่องหยอดเมล็ดจะใช้เวลาในการปลูกน้อยกว่า และมีความสามารถในการปลูกมากกว่าจอบ 3-4เท่า โดยจอบจะปลูกได้ 8 หลุม/นาที และเครื่องหยอดเมล็ดพืชจะปลูกได้25 หลุม/นาที แสดงว่าเครื่องหยอดเมล็ดช่วยลดระยะเวลาในการปลูกพืชได้ และเมื่อดูผลผลิตที่ได้จากการปลูก มีอัตราการงอกและการเจริญเติบโตพอๆกัน และเมื่อสอบถามความรู้สึกพบว่าเกษตรกรร้อยละ 100 และนักเรียนร้อยละ 96 ชอบเครื่องหยอดเมล็ดพืชมากเพราะช่วยให้ไม่ต้องก้มหลังทำให้ผ่อนแรง ทำงานได้สะดวกขึ้น และได้มีการปรับปรุงทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องหยอดเมล็ด เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเมล็ดพืชหลากหลายชนิด โดยการเปลี่ยนแผ่นไม้เป็นเบอร์ต่างๆและจากการทดลองพบว่า แผ่นไม้เบอร์1 ซึ่งมีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7 เซนติเมตร เหมาะกับเมล็ดพืชที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4เซนติเมตรได้แก่เมล็ดถั่วเขียว ผักบุ้ง ผักกาดหัว แผ่นไม้เบอร์ 2ซึ่งมีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9เซนติเมตร เหมาะกับเมล็ดพืชที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ0.5-0.6เซนติเมตรได้แก่เมล็ดถั่วเหลืองและปุ๋ยเม็ด แผ่นไม้เบอร์3 ซึ่งมีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.1เซนติเมตร เหมาะกับเมล็ดพืชที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ0.6-0.7 เซนติเมตรได้แก่เมล็ดข้าวโพด และแผ่นไม้ขนาดต่างๆสามารถกำหนดจำนวนเมล็ดต่อหลุมได้เครื่องหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกพืชได้หลากหลายชนิดและส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้จอบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาลิดา ธำรงธิติเดช
สิริกานท์ วิริยะสิริเวช
เพียงขวัญ วานิชชัง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศรีนวล อยู่เป็นสุขดี
อรวรรณ สุขเขียว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การทำสวน
เกษตรกรรม
เครื่องจักรกลการเกษตร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์