โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษย้อมสีจากใบหูกวาง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลวรรณ ทองงาม
ปภาวรินทร์ สติความ
วริศรา พรหมมณี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐานียา ว่องวิญญู
สุรางค์ ประทุมโทน
โกสุม สุวรรณวิวัฒน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดมลภาวะที่เกิดจากสารเคมี จากการทดลองพบว่า เมื่อนำใบหูกวางที่มีสีเขียว สีแดง สีแสด มาสกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้น 95% สารละลายที่สกัดได้เมื่อย้อมกระดาษสาจะมีสีเป็นองค์ประกอบคือ ใบสีเขียวประกอบด้วย สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล ใบสีเหลืองประกอบด้วย สีเหลือง สีน้ำตาลแดง ใบสีแสดประกอบด้วย สีแสด สีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล ใบสีแดงประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล นำสารละลายที่สกัดได้ผสมกับเกลือของโลหะชนิดต่างๆ ดังนี้ NaCl, AlCl3, FeSO4, และ FeCl3 แล้วนำสารละลายแต่ละชนิดมาย้อมสีกระดาษสาด้วยหลักการโครมาโทรกราฟี กระดาษที่ย้อมสีจากรงควัตถุของใบหูกวางที่ผสมด้วยเกลือของ Na และ Al จะแยกชั้นของสีชัดเจนและมีสีเหลืองสดใส ส่วนกระดาษที่ย้อมด้วยรงควัตถุที่ผสมด้วยเกลือของ Fe เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน การทดสอบความคงทนของสีย้อมกระดาษด้วยหลอดไปฟลูออเรสเซนต์ 10 w 220v AC ระยะห่าง 4 ซม. วันละ 8 ชม. สีของรงควัตถุซึ่งผสมด้วยเกลือของโลหะแต่ละชนิดจะลดความสดใสลง เมื่อทดสอบได้ 2 วัน จากการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตพบว่าต่ำกว่าสีสังเคราะห์ 87% กระดาษย้อมสีจากใบหูกวางนำไปใช้ประโยชน์ในงานศิลปะและตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารได้