โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารสกัดจากบัวตองต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนไมยราบยักษ์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไมยราบยักษ์ เป็นวัชพืชที่พบว่ามีการระบาดหนักในทุกภาคของประเทศไทย ส่งผลเสียต่อ การเจริญเติบโตของผลผลิตพืช ต้นอ่อนของไมยราบยักษ์นั้นเจริญเติบโตรวดเร็วมาก อีกทั้งเมล็ดไมยราบยักษ์ยังมีเปลือกหุ้มแข็ง เรียกว่า มีระยะพัก(seed dormancy) ดังนั้นการกำจัดจึงเป็นไปได้ยาก และจากข้อมูลพบว่า ต้นบัวตองเป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือ มีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า มีสารอัลลีโลพาที ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอื่น โดยบัวตองจะปล่อยสารนี้ออกมายับยั้งการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง ทำให้การเจริญเติบโตช้าลงและตายในที่สุด ในขณะที่บัวตองจะขยายพันธุ์ปกคลุมพื้นที่ในบริเวณนั้นแทน ตัวอย่างเช่น ทุ่งบัวตองในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติมว่า สารอัลลีโลพาที ในความเข้มข้นสูง มีผลทำให้พืชข้างเคียงชนิดอื่นเจริญเติบโตช้าลง จึงนำผลดังกล่าวมาทำการทดลอง เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากบัวตองต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนไมยราบยักษ์ โดยการให้สารสกัด บัวตองในความเข้มข้นต่าง ๆ แก่ต้นอ่อนไมยราบยักษ์ แล้วสังเกตเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นอ่อน พบว่า ต้นอ่อนที่ได้รับสารความเข้มข้น 50% stock solution มีความสูงเฉลี่ย 2.82 เซนติเมตร ต้นอ่อนที่ได้รับสารความเข้มข้น 25% stock solution มีความสูงเฉลี่ย 4.56 เซนติเมตร ต้นอ่อนที่ได้รับสารความเข้มข้น 12.5% stock solution มีความสูงเฉลี่ย 5.01 เซนติเมตร ต้นอ่อนที่ได้รับสารความเข้มข้น 6.25% stock solution มีความสูงเฉลี่ย 5.20 เซนติเมตร โดยชุดการทดลองที่ไม่ได้รับสารสกัดมีความสูงเฉลี่ย 5.35 เซนติเมตร จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สารสกัดจากบัวตองมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นอ่อนไมยราบยักษ์ โดยสารสกัดที่มีความเข้มข้น 50% stock solution ให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งได้ดีที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กชวรรณ ไวว่อง

  • พงศ์พิสุทธิ์ ทาคำแปง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • บัวตอนสารสกัด

  • ไมยราบยักษ์การเจริญเติบโต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์