โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษากรรมวิธีเพิ่มคุณภาพใบเตยปาหนันที่ใช้ในพลิตภัณฑ์จักรสาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยวรรณ จันทสโร
พัชรพรรณ แดงอินทร์
มานะวิทย์ หะยีบีอชา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทนา ถาวโรฤทธิ์
สุวไล สุขน้อย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "ศึกษากรรมวิธีเพิ่มคุณภาพใบเตยปาหนันที่ใช้ในงานผลิตภัณฑ์จักรสาน" เป็นการศึกษาที่มีจุดมุงหมายเพื่อนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาช่วยคุณภาพใบเตยปาหนัน โดยการศึกษาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นพื้นฐาน จึงได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความอ่อนตัวของเส้นใยใบเตยปาหนัน โดยการนำเอาเส้นใยใบเตยปาหนันไปผ่านความร้อน โดยการต้ม ลวก รีด ย่างและตากแดด พบว่าใบเตยปาหนันที่ผ่านความร้อนโดยการต้ม มีความอ่อนตัวที่สุดจึงได้ศึกษาความเหนียวของใบเตยปาหนัน พบว่าใบเตยปาหนันที่ผ่านความร้อนโดยการต้มสามารถทนต่อการดึงได้ถึง 7 กิโลกรัม หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาการฟอกขาว โดยใช้สารที่นำมาฟอกขาวชนิดต่างๆ คือ น้ำมะนาว สารละลายเกลือแกง สารละลายสารส้มและสารละลายน้ำส้มสายชู พบว่าการฟอกขาวด้วยน้ำมะนาว สรละลายเกลือแกง และสารละลายสารส้ม มีความขาวเท่ากัน จึงควรใช้สารละลายเกลือแกงเป็นตัวฟอกขาว เพราะมะนาวและสารส้มมีราคาแพง หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาความเหนียวของเนใบเตยปาหนันที่ผ่านการฟอกขาวด้วยสารละลายทั้ง 4 ชนิด พบว่าเสนใบเตยปาหนันที่ฟอกขาวด้วยน้ำมะนาว มีความเหนียวมากที่สุด รองลงมาคือฟองขาวด้วยสารละลายเกลือแกง จึงเห็นควรใช้สารละลายเกลือแกงในการฟอกขาวจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถเพิ่มคุณภาพของเส้นใยปาหนันได้เป็นอย่างดี