โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอิฐดินแดง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการทำอิฐจากดินที่มีอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง โดยสามารถทำอิฐจากส่วนผสมของ ดินแดง : ปูนซีเมนต์ : น้ำ ที่อัตราส่วน 4 กิโลกรัม : 1.5 กิโลกรัม : 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร การนำปูนขาวผสมกับขี้เลื่อย หรือหญ้าแฝก หรือหญ้าคา มาใช้แทนปูนซีเมนต์ สามารถทำได้ โดยปูนขาวผสมกับขี้เลื่อยให้ความแข็งแรงมากที่สุด แต่การแทนที่ปูนซีเมนต์ทั้งหมดด้วยปูนขาวผสมกับขี้เลื่อยจะลดความแข็งแรงของอิฐแดง จากการทดลองพบว่า อัตราส่วน ดินแดง : ปูนขาว : ปูนซีเมนต์ : ขี้เลื่อย : น้ำ ที่ 4 กิโลกรัม : 0.5 กิโลกรัม : 0.25 กิโลกรัม : 0.75 กิโลกรัม : 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำให้อิฐแดงมีความแข็งแรงมากที่สุด โดยใช้ระยะเวลาพึ่งลม 24 ชั่วโมง บ่มในร่มเป็นเวลา 16 วัน โดยมีการรดน้ำทุกวัน อิฐแดงที่ได้จะมีความแข็งแรงมากกว่าอิฐสร้างบ้านและอิฐมอญ เมื่อนำมาสร้างเป็นห้องจะลดอุณหภูมิให้ห้องจากปกติลงได้ 2-3 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับห้องที่สร้างจากอิฐมอญ และสร้างบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถนำอิฐแดงไปทำเป็นอุปกรณ์ต่างๆ เช่นทางเท้า โต๊ะ เก้าอี้ ได้โดยไม่เสื่อมสภาพง่าย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กันต์กมล จันทรทิณ

  • ธีรนนท์ จันทร์หอม

  • เอกพจน์ สังเมียน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพัทลุง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขากายภาพ ภาคใต้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์