โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการลดความบอบช้ำของปลามีเงี่ยงขณะขนส่งด้วยลูกปิงปอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธิดารัตน์ จันทร์แสง

  • ปัญหาการขนส่งปลา ลดความบอบช้ำ

  • พิชญาภรณ์ พุ่มไพศาลชัย

  • ศิริพรรณ แตงน้อย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วินัย เกียรติอดิศร

  • สมเจตน์ นิลเนตร

  • เฉลิม รอดหลง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p69

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปลาดุก การขนส่ง

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปลาดุกมีปัญหาในการขนส่งเนื่องจากการแทงกันของเงี่ยงทำให้ปลาบอบช้ำและตายได้ ซึ่งเกษตรกรก็แก้ปัญหาโดยใส่ผลมะนาวลงในถังขนส่งเพื่อลดความบอบช้ำของปลา ดังนั้นการทดลองนี้จึงมุ่งเน้นที่จะพิสูจน์ว่า ผลมะนาวดังกล่าวสามารถลดความบอบช้ำของปลาดุกได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อที่จะหาวัสดุถาวรมาทดแทนผลมะนาวดังกล่าว การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือตอนที่ 1 ทดลองเปรียบเทียบส่วนต่างๆ ของผลมะนาวว่าช่วยลดความบอบช้ำของปลาดุก 15 ตัว ทดลองใส่ถังเป็นเวลา 2 วัน โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (ไม่ใส่อะไร) กลุ่มที่ 2 กลุ่มใส่ผลมะนาวสด 10 ผล กลุ่มที่ 3 ใส่น้ำมะนาว กลุ่มที่ 4 ใส่เปลือกมะนาว ผลการทดลองพบว่า ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ใส่ผลมะนาวปลามีอัตราการรอดตายสูงถึง 100% และมีบาดแผลน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ใส่เปลือกมะนาว และกลุ่มที่ใส่น้ำมะนาว มีอัตราการรอดตายลดลงไปตามลำดับคือ 40%, 33% และ 27% ตามลำดับตลอดจนมีบาดแผลเกิดขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ใส่ผลมะนาว ตอนที่ 2 หาวัสดุทดแทนผลมะนาวเพื่อใช้ในการขนส่งปลา วิธีทดลองนำผลมะนาวมาหาค่าเฉลี่ยระดับการลอยตัวจากพื้นน้ำพบว่า ผลมะนาวลอยสูงจากพื้นน้ำเฉลี่ย 9.77 เซนติเมตร นำลูกปิงปองมาบรรจุน้ำ