โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผ้ากาบกล้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • รัตติญา พูนหญ้าคา

  • สุภาวดี ทิศกระโทก

  • เกวลี ไกรกลาง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหนองขามพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การทอผ้า

  • ผ้าดิบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "ผ้ากาบกล้วย" เป็นโครงงานที่มีความริเริ่มมาจากบ้านของสมาชิกในกลุ่มปลูกกล้วยไว้มากมายหลายชนิดด้วยกัน สมาชิกจึงเกิดแนวความคิดที่จะนำส่วนต่าง ๆ ของกล้วยมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะกาบกล้วยและต้นกล้วยซึ่งมักจะถูกนำไปทิ้งหรือนำไปทำเป็นปุ๋ยบ้าง จึงเริ่มศึกษาหาวิธีการที่เหมาะสมในการนำเส้นใยจากกาบกล้วยมาทอเป็นผ้า โดยศึกษาหาชนิดของกล้วยที่ให้เส้นใยที่มีความแข็งแรงใช้กาบกล้วยจากกล้วย 5 ชนิด ทำการขูดเนื้อในของกาบกล้วยออกแล้วลอกเส้นใยนำไปทดสอบความแข็งแรง พบว่า เส้นใยจากกล้วยน้ำว้ามีความแข็งแรงและมีความวาวมากกว่าเส้นใยจากกล้วยไข่,กล้วยน้ำไทย,กล้วยครั่ง และกล้วยหักมุก จากนั้นจึงศึกษาวิธีลอกเส้นใยกล้วยน้ำว้าโดยการนำกาบกล้วยที่ขูดเนื้อในออกไปต้มกับสารละลายสบู่ซักล้างที่มีความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรในเวลา 30 นาที จะทำให้ลอกเส้นใยออกได้ง่าย นำเส้นใยที่ได้ไปทดสอบความคงทนต่อความเป็นกรดและเบสด้วยการแช่ในสารละลายกรดอะเซติก สารละลายผงซักฟอก สารละลายสบู่ และสารละลายน้ำยาซักผ้าขาว พบว่า เส้นใยมีความคงทนต่อสารละลายเบสได้ดี จากนั้นนำเส้นใยที่ผ่านการลอกตามขั้นตอนข้างต้นจะถูกนำมาต่อด้วยกาวน้ำและนำไปทอเป็นผืนผ้าโดยใช้กี่มือ จะได้ผ้าที่มีความวาวแต่เนื้อหยาบเล็กน้อยมีสีครีมอ่อนค่อนไปทางสีกากี จึงได้ทำการศึกษาการย้อมผ้ากาบกล้วยด้วยสีธรรมชาติโดยใช้ เหง้าขมิ้นซึ่งให้สีเหลืองและใช้เกลือเป็นสารช่วยติดสี จะได้ผ้ากาบกล้วยที่มีสีสวยงามมีคุณภาพดี มีความเงาคล้ายผ้าไหมทนต่อการซักด้วยน้ำสบู่และผงซักฟอก โครงงานนี้จึงเป็นการนำสิ่งที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาจจะเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต