โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องเตือนอุทกภัย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ซิศวชิต หนุมาศ
ภคิน กว้านเจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ระบบเตือนภัย
สิ่งประดิษฐ์
อุทกภัย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัยน้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นทุกปีในทุกภูมิภาคของบ้านเรา โดยปกติภัยน้ำท่วมเกิดจากฝนตกหนัก ทำให้บ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ๆ เสียหายเป็นจำนวนมากทั้งด้านทรัพย์สินและชีวิต ผู้จัดทำโครงงานจึงคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพ สามารถบอกระยะน้ำที่ห่างจากริมตลิ่ง และเมื่อน้ำถึงจุดที่ต้องอพยพก็สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยในรูปของเสียง และไฟเตือนภัยได้ โดยในการประดิษฐ์เครื่องเตือนภัยอุทกภัยนี้ ผู้จัดทำได้ใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของ Arduino เพราะง่ายต่อการพัฒนาโครงงาน มีรูปแบบคำสั่งเป็นภาษาซีพื้นฐาน ไม่ซับซ้อน เริ่มต้นด้วยการออกแบบเครื่องเตือนอุทกภัยให้มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งาน ทนต่อสภาพแวดล้อม และประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายมากที่สุด หลังจากนั้นจึงเริ่มคิดหลักการทำงานของเครื่องเตือนอุทกภัย ผู้จัดทำโครงงานใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ที่มีชื่อเรียกว่า ULTRASONIC ซึ่งเป็นอุปกรณ์เซนเซอร์ใช้วัดระยะทางระหว่างตัวเซนเซอร์และสิ่งกีดขวางต่างๆโดยได้ทำการป้อนคำสั่งภาษาซีลงใน Microcontroller เพื่อให้ Ultrasonic รับค่าระยะทางจนถึงผิวน้ำภายใต้สถานการณ์จำลองดังนี้ หากระยะทางที่อ่านค่าได้ผ่านทางจอ LCD มีค่ามากกว่า 50 เซนติเมตร จะถือว่าระดับความอันตรายอยู่ที่ ปลอดภัย หากระยะทางที่อ่านได้มีค่าระหว่าง 30 ถึง 50 เซนติเมตร ระดับความอันตรายจะอยู่ที่ เฝ้าระวัง ในระดับความอันตรายนี้จะมีสัญญาณไฟเตือนภัยสีเขียวสว่างขึ้น และหากระยะทางที่อ่านได้มีค่าน้อยกว่า 30 เซนติเมตร ระดับความอันตรายจะอยู่ที่ อพยพ ซึ่งจะมีการส่งสัญญาณเตือนภัยทั้งในรูปของเสียง จากลำโพงเตือนภัย และรูปของแสงจากไฟเตือยภัยสีแดง เป็นสัญลักษณ์ว่าควรรีบออกจากพื้นที่แห่งนี้ให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยลดความเสียหารต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ได้