โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุคอมโพสิทจากธูปฤๅษี
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง วัสดุคอมโพสิทจากธูปฤๅษี เป็นการแปรสภาพโฟมให้กลายเป็นวัสดุเชิงประกอบโดยการนำโฟมมาละลายในน้ำมันเบนซินและเสริมแรงด้วยตัวเสริมจากเส้นใยธูปฤๅษี ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย (Fibrous Composite) ในรูปของเส้นใยเซลลูโลส (Cellulose) เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และลิกนิน (Lignin) โดยเฉพาะเซลลูโลสที่มีปริมาณที่สูงถึงร้อยละ 60-80 ของสารประกอบทั้งหมด แล้วนำมาผลิตวัสดุที่มีน้ำหนักเบาสามารถย่อยสลายได้ ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการวิจัยด้วยภูมิปัญญาของท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่หาได้ภายในประเทศและยังสามารถทดแทนวัสดุไม้ในอุตสาหกรรมไม้อัด ไม้ประกอบได้ เช่น อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด (Particle board industries) อุตสาหกรรมแผ่นใยไม้อัด (Fiber board industries) เพื่อทดแทนไม้ธรรมชาติที่มีปริมาณลดน้อยลงในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพกาวโฟมที่มีปริมาณโฟมต่อน้ำมันเบนซิน 1 : 1, 1 : 2, 1 : 3, 1 : 4 และ 1 : 5 และศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของวัสดุคอมโพสิทที่มีปริมาณกาวโฟมต่อเส้นใยธูปฤๅษี 1 : 1, 1 : 2, 1 : 3 และ 1 : 4 พบว่า กาวโฟมที่มีปริมาณโฟมต่อน้ำมันเบนซิน 1 : 5 มีสมบัติทางกายภาพดีที่สุดและวัสดุคอมโพสิทที่มีปริมาณกาวโฟมต่อเส้นใยธูปฤๅษี 1 : 2 มีสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลดีที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชชาพร นวลประสงค์
ศุภกานต์ ขาวทอง
เบญจวรรณ ติดการนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทกายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ธูปฤๅษี
วัสดุคอมโพสิท
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์