โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องหนังเทียมจากชานอ้อย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการร่วมกันช่วยลดปัญหาขยะจากหนังเทียมและชานอ้อยอันเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างมูลค่ายางพาราที่สามารถผลิตได้ในชุมชนให้สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่เหมาะสมในการทำเยื่อจากชานอ้อย 5 g ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารละลายแอซิติกที่เหมาะสมในการขึ้นรูปยางแผ่นของน้ำยางพารา 30 cm3 และน้ำ 20 cm3 และศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของหนังเทียมจากชานอ้อยที่มีปริมาณของเยื่อชานอ้อยที่มีปริมาณต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่ความเข้มช้นร้อยละ 6 โดยมวลต่อปราตรเหมาะสมในการทำเยื่อจากชานอ้อยที่เตรียมจากเส้นใยชานอ้อย 5 g ความเข้มข้นของสารละลายแอซิติก 2.00 mol/dm3 เหมาะสมในการขึ้นรูปยางแผ่นของน้ำยางสด 30 cm3 และน้ำ 20 cm3 และหนังเทียมชานอ้อยที่ทำจากเยื่อชานอ้อย 20 g ในน้ำยางพารา 30 cm3 มีคุณภาพมากที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นภัสวรรณ สร้างแก้ว

  • พีรวิชญ์ ปัญญวรรณศิริ

  • อัญชิษฐา วงศ์กระจ่าง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ชานอ้อย

  • หนังเทียม การทำ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์