โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของขิงในอาหาร reused ต่อการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หวายแคระ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องผลของขิงในอาหาร reused ต่อการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หวายแคระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของขิงที่เหมาะสมในอาหาร ½ MS และอาหาร reused ½ MS+1BA ต่อการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หวายแคระ โดยแบ่งงการทดลอง ดังนี้ ตอนที่ 1 มี 7 ชุดการทดลอง ได้แก่ ½ MS + ขิง 0, 10, 20, 30, 40, 50, 60 กรัมต่อลิตร ตอนที่ 2 มี 7 ชุดการทดลอง ได้แก่ อาหาร reused ½ MS+1BA + ขิง 0, 10, 20, 30, 40, 50, 60 กรัมต่อลิตร ระยะเวลาการเก็บผล 4 และ 8 สัปดาห์ หลังจากวางเลี้ยงเป็นเวลา 4 และ 8 สัปดาห์ พบว่า หวายแคระเจริญเติบโตได้ดีในอาหาร ½ MS ที่เติมขิง 40-50 กรัมต่อลิตร ได้หน่อ 2.00±0.89, 2.33±0.51 หน่อ ความสูงต้น 4.22±0.35, 8.33±0.82 มิลลิเมตร จำนวนใบ 3.11±0.75, 3.44±0.46 ใบ/ต้น ความยาวใบ 9.17±0.98, 16.00±2.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ และในอาหาร reused ที่มีขิง 10-20 กรัมต่อลิตร ได้หน่อ 1.33±1.21, 1.83±1.17 หน่อ ความสูงของต้น 2.50±2.26, 6.00±2.97 มิลลิเมตร จำนวนใบ 1.89±1.61, 2.75±1.51 ใบ/ต้น ความยาวของใบ 5.50±5.24, 12.83±8.33 มิลลิเมตร ตามลำดับ และตอนที่ 3 การนำอาหาร reused ½ MS+1BA+ขิง ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงหวายแคระไปใช้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดอื่น พบว่าทดลองใช้กับโกมาซุม 10 ต้น เจริญเติบโตได้ดีได้ความสูงต้น 3.40±1.35 มิลลิเมตร ความยาวใบ 9.00±4.78 มิลลิเมตร และจำนวนใบ 0.44±0.53 มิลลิเมตร ประโยชน์ที่ได้รับ ทราบปริมาณของเนื้อขิงที่เหมาะสมในอาหาร reused ต่อการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หวายแคระ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารสังเคราะห์ไซไคนิน (BA) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำอาหารเพาะเลี้ยงใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้ โดยการนำต้นใหม่ที่ได้ไปประยุกต์ทำเป็นของชำร่วย ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มขนาดของต้นพืชทดลอง และควรทดลองใช้กับอาหาร reused สูตรอื่นๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฌานิกา ดรุมาศ
พีรันดส รัตนะ
อวิกา อังชยกุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กล้วยไม้แคระการเพาะเลี้ยง
ขิงการสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์