โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทดสอบการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็นของหนังยาง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็น(Ghost Ant: Tapinoma melanocephalum) ของหนังยาง (Plastic band)กับวัสดึอื่นๆ และทดสอบความสามารถในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็นของสารประกอบสำคัญของหนังยาง โดยใช้ขนมช็อกโกแลตขาวเป็นเหยื่อล่อ และใช้สิ่งขวางกั้น2 กลุ่ม คือ1)วัสดุขวางกั้น4ชนิด คือ หนังยาง , เชื่อ, ดินน้ำมันและแป้งฝุ่นโรยตัว และ2)สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของหนังยาง5ชนิด คือ ยางพารา(เส้นยางดิบ),กรดสเตียริก(Stearic Acid: C_18 H_36 O_2 ,ซิงค์ออกไซด์(Zinc Oxide:ZnO),กำมะถัน(Sulphur powder:S_8 )และแคลเซียมคาร์บอเนต(Calcium Carbonate:CaCO_3 โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น4ขั้นตอน คือ1)ทดสอบเหยื่อล่อมด,2)ทดสอบการเข้าพึงพื้นที่เป้าหมายของมดโดยไม่มีสิ่งกีดขวางกั้น,3)ทดสอบความสามารถในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่เป้าหมายของมดเหม็นด้วยวัสดุขวางกั้น เพื่อทดสอบความสามารถในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่เป้าหมายของมดเหม็นของหนังยางเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นๆและ4)ทดสอบความสามารถในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่เป้าหมายของมดด้วยการขวางกั้นด้วยสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของหนังยาง พบว่าหนังยางเป็นวัสดุกั้นขวางที่ดีที่สุดในการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็น(API=91.1%)รองลงมา คือ แป้งฝุ่นโรยตัว(API=80.5%),ดินน้ำมัน(API=77.8%)และเชือก(API=22.2%)โดยหนังยางมีความสามารถป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดได้ดีกว่าเชือก(วัสดุขวางกั้นเปรียบเทียบ)4.1เท่า(APO=4.1)และในการทดสอบสารที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของหนังยาง พบว่า กำมะถันเป็นสารที่สามารถป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็นได้สูงสุด(API=98.8%)รองลงมาคือ กรดสเตียริก(API=72.8%),ซิงค์ออกไซด์(API=45.5%)และแคลเซียมคาร์บอเนต(API=26.1%)ตามลำดับซึ่งกำมะถันมีความสามารถป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็นได้ดีกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต(สารขวางกั้นเปรียบเทียบ)3.8เท่า(APO=3.8)ส่วนยางพารานอกจากไม่สามารถป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดแล้ว แต่กลับเป็นสารที่ล่อให้มดเข้ามาเพิ่มขึ้นอีกด้วย(API=-17.9%) นอกจากนี้ พบว่ากำมะถันสามารถป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ของมดเหม็นได้ดีกว่ายากเล็กน้อย(APO=1.1) หมายเหตุ: APO คือค่าสัดส่วน(Odds)เปรียบเทียบค่าAPIของวัสดุหรือสารขวางกั้นที่สนใจกับAPIของวัสดุหรือสารขวางกั้นที่มีค่าAPIต่ำสุด(ตัวเปรียบเทียบ) โดยวัสดุขวางกั้นใช้ค่าAPIของเชือกเป็นตัวเปรียบเทียบ และสารขวางกั้นใช้ค่าAPIของแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นตัวเปรียบเทียบ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤชภูมิน์ แพทย์จะเกร็ง

  • นพสรณ์ มุนินทรวงศ์

  • วรากร ชัยพัฒนาการ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มด การควบคุม

  • มด การป้องกัน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์