โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพร พาเจริญ
ธนวรรณ โฉมศรี
พรรัตน์ กรรณมณี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิด วงศ์ใหญ่
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญทอง ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
วัสดุกันกระแทก
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของวัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบชนิด ขนาดของวัสดุ ชนิดและอัตราส่วนตัวประสานที่มีผลต่อความสามารถในการขึ้นรูป ประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทก พบว่า ไส้มันสำปะหลังสามารถขึ้นรูปได้กับตัวประสานทุกชนิด สามารถตัดเป็นชิ้นและมีลักษณะคล้ายแผ่นโฟม วัสดุอื่นไม่สามารถขึ้นรูปได้ตามเกณฑ์ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการเป็นวัสดุกันกระแทก พบว่า แผ่นโฟมมีประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ไส้มันสำปะหลังผสมเมล็ดแมงลักคา จึงศึกษาไส้มันสำปะหลังกับเมล็ดแมงลักต่อความสามารถในการขึ้นรูป พบว่า สามารถขึ้นรูปได้ทุกกลุ่มการทดลอง ประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทก แผ่นโฟมมีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาคือ แผ่นไส้มันสำปะหลังผสมเมล็ดแมงลักคาในอัตราส่วน 1:15 และจากการศึกษารูปแบบการใช้งานในสภาพเสมือนจริงในการป้องกันการแตกของหลอดทดลองที่บรรจุภายในกล่อง 2 รูปแบบ คือ 1) หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบรรจุลงในกล่องพัสดุ 2) บุรอบกล่องพัสดุ เมื่อปล่อยจากที่สูง พบว่า การใช้งานทั้ง 2 แบบสามารถลดแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ