โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันขี้หนูเพื่อการประยุกต์ใช้ในการผลิตถุงเพาะชำย่อยสลายได้

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการทดลองสกัดแป้งจากพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ มันขี้หนู มันเทศ เผือก ถั่วเขียว ลูกเดือย เม็ดขนุน และมันสำปะหลัง พบว่ามันขี้หนูให้ปริมาณแป้งมากที่สุด จากนั้นทดลองสกัดแป้งจากมันขี้หนู โดยใช้สารละลายที่มีความเป็นกรดเบสต่างกัน ได้แก่ กรด กลาง และเบส พบว่า สารละลายกรดไฮโดรคลอริกให้ปริมาณแป้งมากที่สุด แต่แป้งมีลักษณะเหนียวและแข็งตัวช้า จึงเลือกใช้สารละลายเบสแทน เมื่อเลือกใช้สารละลายเบสชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบว่า โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตให้ปริมาณแป้งมากที่สุด จากนั้นโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ได้แก่ 0 0.5 1.0 และ 1.5%w/v พบว่า ที่ความเข้มข้น 1.5%w/v สามารถสกัดแป้งได้มากที่สุด และทำการผลิตแผ่นฟิล์มจากแป้งมันขี้หนู โดยการเตรียมสารละลายซึ่งมีปริมาณแป้งต่อเพคตินต่อกลีเซอรอลเป็น 4 สูตร คือ สูตรที่ 1 อัตราส่วน 1 : 1 : 1 สูตรที่ 2 อัตราส่วน 2 : 2 : 1 สูตรที่ 3 อัตราส่วน 2 : 1 : 1 และสูตรที่ 4 อัตราส่วน 2 : 1 : 2 พบว่าสภาวะที่เหมาะสมกับการผลิตแผ่นฟิล์มจากแป้งมันขี้หนู คือ สูตรที่ 2 อัตราส่วนปริมาณแป้งต่อเพคตินต่อกลีเซอรอลเป็น 2 : 2 : 1 ฟิล์มทีได้มีสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกับถุงเพาะชำ และสภาวะการย่อยสลายของแผ่นฟิล์มมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา จากนั้นศึกษาชนิดของแป้งที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของแผ่นฟิล์ม โดยใช้แป้งจากตะกอนมันขี้หนู และแป้งผสมเส้นใย พบว่า แผ่นฟิล์มจากแป้งจากตะกอนมันขี้หนูมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดีกว่า สุดท้ายทดลองนำเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของแผ่นฟิล์มจากแป้งมันขี้หนูที่ความหนาต่าง ๆ พบว่า ที่ปริมาตร 45 mL ให้ความหนาที่สามารถรับน้ำหนักได้เหมาะสม ใกล้เคียงกับถุงเพาะชำมากที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชลนัท สุมนเตชะรัตน์

  • นูฮา อุทัย

  • อาศิมี สารีกามา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทอง ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ถุงเพาะชำ การผลิต

  • ฟิล์ม การย่อยสลาย

  • แป้งมันขี้หนู การประยุกต์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์