โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยจากมูลไส้เดือน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการย่อยอาหารของไส้เดือนเมื่อใช้อาหารต่างชนิดกัน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยจากมูลไส้เดือนที่ได้จากอาหารต่างชนิดกันและเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้เมื่อใช้ปุ๋ยต่างชนิดกัน การทดลองตอนที่ 1 พบว่าอาหารที่ไส้เดือนใช้ระยะเวลาการย่อยมากที่สุด คือ ดินผสมเศษใบไม้ ส่วนที่ใช้เวลาน้อยที่สุด คือ ผักบุ้งผสมมูลวัว และดินผสมมูลวัว ตอนที่ 2 พบว่าปุ๋ยจากมูลไส้เดือนที่ได้จากการให้ผักบุ้งผสมมูลวัวเป็นอาหาร มีค่าความเป็น กรด-เบส (pH) ใกล้เคียงกับความเป็นกลาง (pH = 7) มากที่สุด และเมื่อศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ย (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพรแทสเซียม) พบว่าปุ๋ยจากมูลไส้เดือนที่ได้จากอาหารต่างชนิดกัน จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักที่แตกต่างกัน โดยปุ๋ยที่ได้จากการให้ผักบุ้งผสมมูลวัวเป็นอาหาร มีปริมาณธาตุอาหารที่ใกล้เคียงกับดินผสมมูลวัว สำหรับปุ๋ยที่ได้จากการให้ดินผสมเศษใบไม้นั้นจะมีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกับดินผสมผักบุ้ง ตอนที่ 3 พบว่าปุ๋ยจากมูลไส้เดือนทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีกว่าปุ๋ยอินทรีย์จากท้องตลาด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลดิชญา เปียร์กลิ่น
อรณิชา พรหมสุทธิ์
อามีน เจ๊ะอุบง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญเงิน ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปุ๋ยชีวภาพ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ไส้เดือน การทดลอง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์