โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำขี้เถ้าจากผักโขมชะลอการแข็งตัวของน้ำยางสด

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาสารจากธรรมชาติซึ่งสามารถนำมาทดแทนแอมโมเนียในการชะลอการแข็งตัวของน้ำยางสด ได้ศึกษาค่า pH ของน้ำขี้เถ้า 3 ชนิด คือ น้ำขี้เถ้าจากผักโขม แก่นขี้เหล็ก และกาบกล้วย พบว่า น้ำขี้เถ้าจากผักโขมมีค่า pH เฉลี่ยสูงสุด คือ 10.75 จึงได้ศึกษาอัตราขี้เถ้าต่อน้ำ อัตราน้ำขี้เถ้าต่อน้ำยา เปรียบเทียบคุณสมบัติของน้ำยางที่ใส่น้ำขี้เถ้ากับน้ำยางสด เปรียบเทยบปริมาณกรดซัลฟิวริกที่ทำให้น้ำยางที่ใส่น้ำขี้เถ้ากับน้ำยางที่ใส่แอมโมเนียแข็งตัว พบว่า การชะลอกการแข็งตัวของน้ำยางสดได้ดีที่สุด โดยใช้อัตราส่วนขี้เถ้าผักโขมต่อน้ำ เป็น 1 : 10 และน้ำขี้เถ้า : น้ำยาง อัตราส่วน 1 : 2 น้ำยางสดที่ใส่น้ำขี้เถ้าจากผักโขมในทุกอัตราส่วนมีคุณสมบัติด้านสีและความถ่วงจำเพาะใกล้เคียงกับน้ำยางสด สำหรับปริมาณกรดซัลฟิวริกที่ช่วยในการแข็งตัวของน้ำยางที่ใส่น้ำขี้เถ้าจะใช้ปริมาณมากกว่าน้ำยางที่ใส่แอมโมเนีย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลนันท์ ลังกรณ์

  • จิณห์จุฑา ปานมั่น

  • ณัฐวรรณ ศรีเลิศชลาลัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำยาง

  • ผักโขมน้ำขี้เถ้า

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์